สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (Document Transcript)
1. สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 1-11ฉบับที่ 1 พ.ศ.2504-2509-เน้น เฉพาะด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
โดยเฉพาะการลงทุนใน สิ่งก่อสร้างขั้นพื้นฐานในรูปแบบของระบบคมนาคมและขนส่ง
ระบบเขื่อนเพื่อการชลประทานและพลังงานไฟฟ้า สาธารณูปการ ฯลฯ
รัฐทุ่มเททรัพยากรเข้าไปเพื่อการปูพื้นฐานให้มีการลงทุนในด้านเอกชนเป็นหลักฉบับที่
2 พ.ศ.2510-2514-ยึด แนวทางแผน 1 โดยขยายขอบเขตของแผนให้ครอบคลุม
ถึงการพัฒนาของรัฐ โดยสมบูรณ์กระจายให้บังเกิดผลไปทั่ว ประเทศ
เน้นเขตทุรกันดารและห่างไกลความเจริญ และมี โครงการ
พิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่ปกติของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาภาค
โครงการเร่งรัด พัฒนาชนบทและโครงการช่วยเหลือชาวนา ฯลฯฉบับที่ 3 พ.ศ.2515-2519-รักษา
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยรักษาอัตราการขยายตัวของปริมาณเงินตรา, รักษาระดับราคาสินค้าที่จาเป็นต่อการครองชีพ, รักษาเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศ,
ส่งเสริมการส่งออก, ปรับปรุงโครงสร้างการนาเข้า-ปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและยกระดับ
การผลิต เร่งรัดการส่งออกและทดแทนสินค้านาเข้า
ปรับงบลงทุนในโครงการก่อสร้างมาสนับสนุนการลงทุนเพื่อใช้ประโยชน์จากโครงการ
ขั้นพื้นฐานที่มีอยู่-กระจายรายได้และบริการทางสังคม โดยลดอัตราการเพิ่มประชากร
กระจายบริการเศรษฐกิจและสังคมสู่ชนบทปรับปรุงสถาบันและองค์กรทางด้านเกษตรและสินเชื่อ
รักษาระดับราคาสินค้าเกษตรฉบับที่ 4 พ.ศ.2520-2524-เน้น
การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยมุ่งขยายการผลิต สาขาเกษตร, ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่ง
ออก, กระจายรายได้และการมีงานทาในภูมิภาค, มาตรการ กระตุ้นอุตสาหกรรมที่ซบเซา, รักษาดุลการชาระเงินและการ
ขาดดุลงบประมาณ-เร่งบูรณะและปรับปรุงการ บริหารทรัพยากรหลักของชาติ
รวมทั้งการนาเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ โดยเฉพาะที่ดินแหล่งน้า ป่าไม้และแหล่งแร่,
เร่งรัดการปฏิรูปที่ดิน, จัดสรร
แหล่งน้าในประเทศ, อนุรักษ์ทะเลหลวง, สำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานในอ่าวไทยและภาคใต้ฝั่งตะวันออก
ฉบับที่ 5 พ.ศ.2525-2529-ยึด พื้นที่เป็นหลักในการวางแผน กำหนดแผนงานและโครง
การให้มีผลทางปฏิบัติทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น พื้นที่เป้าหมายเพื่อพัฒนาชนบท
พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก พื้น ที่เมืองหลัก ฯลฯ-เน้น การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ
เป็นพิเศษโดยการเร่งระดมเงินออม, สร้างวินัยทางเศรษฐกิจ
การเงิน และการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น ปรับ โครงสร้างการเกษตร
ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อการส่ง ออกและกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ส่วนภูมิภาค,
ปรับโครง สร้างการค้าต่างประเทศ และบริการ, ปรับโครงสร้างการผลิต
และการใช้พลังงาน ฯลฯ
2. เน้นความสมดุลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของ
ประเทศ-เน้นการแก้ปัญหาความยากจนในชนบทล้าหลัง กำหนดพื้นที่ เป้าหมาย 286 อำเภอและกิ่งอำเภอ
เน้นการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติเช่นมีระบบการบริหารการ พัฒนาชนบทแนวใหม่ประกาศใช้
พ.ศ. 2527-เน้นบทบาทและการระดมความร่วมมือจากภาคเอกชนฉบับที่ 6
พ.ศ.2530-2534 เน้นการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพของการเงินการคลัง
โดยเน้นการระดมเงินออมในประเทศ เน้นการใช้จ่ายภาครัฐอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ
และเน้นบทบาทภาคเอกชนในการพัฒนา เน้นการพัฒนาฝีมือแรงงานและคุณภาพชีวิต-เน้นการเพิ่มบทบาทองค์กรประชาชนในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม-เริ่มแผนหลักการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี-ทบทวนบทบาทรัฐในการพัฒนาประเทศ
มีแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ- มุ่งปรับโครงสร้างการผลิตและการตลาดของประเทศให้กระจายตัวมากขึ้น
เน้นการนาบริการพื้นฐานที่มีอยู่แล้วมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่-พัฒนาเมืองและพื้นที่เฉพาะ
กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค- ขยายขอบเขตพัฒนาชนบทครอบคลุมทั่วประเทศ เขตล้าหลัง
5,787 หมู่บ้าน เขตปานกลาง 35,514 หมู่บ้าน และเขตก้าวหน้า 11,612 หมู่บ้านฉบับที่
7 พ.ศ.2535-2539-เน้นการรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
และมีเสถียรภาพ-เน้นการกระจายรายได้ และการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบท เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม เน้นการพัฒนากฎหมาย รัฐวิสาหกิจ และระบบราชการฉบับที่
8 พ.ศ.2540-2544เป็น จุดเปลี่ยนสำคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของ
ทุกภาคส่วนในสังคม และมุ่งให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา”
และใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นพร้อมทั้ง
ปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาแบบแยกส่วนมาเป็นบูรณาการแบบองค์รวม
เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตามในปีแรกของแผนฯ ประเทศไทยต้อง ประสบวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
และส่งผลกระทบต่อคนและสังคมเป็นอย่างมาก จึงต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพมั่นคง
และลดผลกระทบจากวิกฤตที่ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานและความยากจนเพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็ว-การพัฒนาศักยภาพของคน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคน
3. การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบทเพื่อ
ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนา
คนและคุณภาพชีวิต-การจัดหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม-การ พัฒนาประชารัฐ
เป็นการพัฒนาภาครัฐให้มีสมรรถนะ และพันธกิจหลักในการเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถนะของคนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ-การบริหารจัดการเพื่อให้มีการนาแผนพัฒนาฯไปดาเนินการ
ให้เกิดผลในทางปฏิบัติด้วยแนวทางการแปลงแผนไปสู่การ ปฏิบัติฉบับที่ 9 (พ.ศ.
2545 - 2549)- เป็น แผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตามพระราชดารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มาเป็นปรัชญานาทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ได้อัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานาทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ
ควบคู่ไปกับกระบวนทรรศน์การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 8 โดยยึดหลักทางสายกลาง
เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤตสามารถดารงอยู่ได้อย่างมั่นคง
และนาไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง
ๆ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ
และสิ่งแวดล้อมเพื่อนาไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย
ผลการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สรุปได้ว่า ประสบความสำเร็จที่น่าพอใจ
เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7
ต่อปีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจปรับตัวสู่ความมั่นคง ความยากจนลดลง
ขณะเดียวกันระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นมาก
อันเนื่องมาจากการดาเนินการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยการมีหลักประกันสุขภาพที่
มีการปรับปรุงทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยครอบคลุมคนส่วนใหญ่ของประเทศ
และการลดลงของปัญหายาเสพติดวัตถุประสงค์(1)
เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกัน(2)
เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง ยั่งยืน
สามารถพึ่งตนเองได้อย่างรู้เท่าทันโลก(3)
เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ(4)
เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเองลาดับความสำคัญของการพัฒนา1.
การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ2.
การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก3. การบรรเทาปัญหาสังคม4.
การแก้ปัญหาความยากจนฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554)- ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบท
ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจากัดต่อการพัฒนาประเทศ
จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้มีภูมิคุ้มกัน
พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจ
4. เกิดขึ้น โดยยังคงอัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี
“คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 8 และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และให้ความสำคัญต่อการรวมพลังสังคมจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมดาเนินการใน
ทุกขั้นตอนของแผนฯ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การปฏิบัติ
รวมทั้งการติดตามตรวจสอบผลการดาเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่องฉบับที่ 11
พ.ศ.2555-2558- ตามวิสัยทัศน์ 3 พันธกิจ 3 วัตถุประสงค์ 4 เป้าหมายหลัก และ 7
ยุทธศาสตร์ ตามการศึกษาจากบริบทตลอดจนจุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและภัยคุกคามของประเทศไทยวิสัยทัศน์
"ประเทศมีความมั่นคงเป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง"3
พันธกิจ ได้แก่ การพัฒนาฐานการผลิตและบริการ การสร้างความเป็นธรรมและ
ลดความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจสังคม และสร้างภูมิคุ้มกันจากวิกฤตการณ์3 วัตถุประสงค์
เพื่อให้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน
คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และพร้อมเชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นสุข4
เป้าหมายหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งสมดุล ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น
มีหลักประกันสังคมที่ทั่วถึงและสังคมไทยมีความสุขอย่างมีธรรมาภิบาล7 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
การสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็ง สมดุล อย่างสร้างสรรค์
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออานวยต่อการผลิต การค้า การลงทุน การพัฒนาคุณภาพคน
ทั้งความรู้คู่คุณธรรม สังคม มั่นคงเป็นธรรม มีพลังและเอื้ออาทร
เน้นการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงของพลังงานและอาหาร
และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศจะ เห็นได้ว่า แผนฉบับที่ 11 นั้น
เน้นการ "ตั้งรับ" มากกว่า "รุก"
โดยเน้นการป้องกันปัญหาจากวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
เพราะเราเพิ่งผ่านวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลก และวิกฤตการณ์ทางการเมืองภายในประเทศมาหมาดๆการเน้น
"ภูมิคุ้มกัน" นั้นเป็นเพียงเป้าหมายขั้นต่ำเหมือนคนที่ปลอดโรค
เพราะมีภูมิต้านทานโรค แต่ไม่ได้บอกว่าสุขภาพแข็งแรงมีกาลังวังชาดีเพียงไร
เชื่อว่าพวกเราไม่ได้ต้องการเพียงให้ประชาชนพอมีกินประชาชนควรจะ
"กินดีอยู่ดี" และมี "คุณภาพชีวิต" ที่ดีขึ้นกว่าเดิม
อีกนัยหนึ่ง
ผลโดยรวมประเทศไม่ควรมีสถานะเพียงเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศอาเซียนด้วยกันหรือ
เพียงแต่ดีกว่า พม่า ลาว กัมพูชา บ้าง แต่เราควรจะตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยมีความ
"มั่งคั่ง" อยู่ในชั้นแนวหน้าของอาเซียน ที่จะแข่งขันกับประเทศ
อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ได้ และตัวอย่างที่ดีๆ ของประเทศนอกอาเซียนอื่นๆ
เช่น เกาหลี และจีน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น