ประวัติศาสตร์
คำว่า “ประวัติศาสตร์” ใช้กันใน 2 ลักษณะคือ
- ประวัติศาสตร์ หมายถึง
เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำ
หรือสร้างแนวความคิดไว้ทั้งหมด รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากเจตจำนงของมนุษย์
ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือธรรมชาติที่มีผลต่อมนุษยชาติ
- ประวัติศาสตร์ ได้แก่ เหตุการณ์ในอดีตที่นักประวัติศาสตร์ได้สืบสวนค้นคว้าแสวงหาหลักฐานมารวบรวมและเรียบเรียงขึ้น
เนื่องจากเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตมีขอบเขตกว้างขวาง และมีความสำคัญแตกต่างมากน้อยลดหลั่นกันไป
นักวิทยาศาสตร์จึงหยิบยกขึ้นมาศึกษาเฉพาะแต่สิ่งที่ตนเห็นว่ามีความหมายและมีความสำคัญ
ความหมายของประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์เกิดจากความมีสามัญสำนึกของมนุษย์อันเป็นคุณลักษณะที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่น
มนุษย์ผูกพันกับประวัติศาสตร์อย่างใกล้ชิด จนไม่อาจจะแยกจากกันได้นั้น คือจะพยายามเรียนรู้และเข้าใจตนเอง
โดยมีประวัติศาสตร์เป็นเครื่องนำทางมุ่งศึกษาพฤติกรรมมนุษย์แล้วให้ความ สำคัญแก่ช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์หรือพฤติกรรมนั้นๆ
มาก
คนทั่วไปมักจะมีความเข้าใจว่าประวัติศาสตร์คือ “อดีต” หรือ
“ส่วนหนึ่งของอดีต” แต่ในความเป็นจริงนั้น “อดีต” ก็คือ “เรื่องราวต่างๆ
ที่ผ่าน” และ “ส่วนหนึ่งหรือเสี้ยวเล็กๆ
เสี้ยวหนึ่งของอดีต” จะเป็นประวัติศาสตร์ได้ก็ต่อเมื่อนักประวัติศาสตร์
สนใจและเห็นความสำคัญ มีประโยชน์ ต่อมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์ คือ
การสืบสวนสอบสวนค้นคว้า เรื่องราวของมนุษย์ในอดีต
และเรื่องราวนั้นมีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนรวม
เนื่องจากวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่มีขอบข่ายเนื้อหากว้าง
ดังนั้นจึงมีนักประวัติศาสตร์ได้ให้ความหมายไว้หลายๆ ทัศนะ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงทัศนะของนักประวัติศาสตร์บางท่านไว้ดังนี้
1. เซอร์
ชาร์ลส์ โอมัน มีความเห็นในทำนองเดียวกับ อาร์เอฟ อารากอน ว่า ประวัติศาสตร์ คือ
“การตรวจสอบหลักฐานทั้งประเภทเอกสารและวัตถุ เพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดต่อเนื่องกันแล้วหาข้อสรุปเป็นไปไม่ได้
ที่เราจะสามารถได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ แต่เราอาจจะสามารถอธิบายข้อเท็จจริงบางอย่างที่ได้จากการตรวจสอบ
และวิเคราะห์หลักฐานเหล่านั้น ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่พอจะยอมรับกันได้”
2. จิตร ภูมิศักดิ์
กล่าวว่า “วิชาประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยความชัดเจนในการต่อสู้
ทางสังคมมนุษย์ ซึ่งวิชานี้เสมือนตัวอย่างของการต่อสู้ทางสังคมแห่งชีวิตของชนรุ่นหลังการศึกษาประวัติศาสตร์จึงเป็นหัวใจแห่งการศึกษาความเป็นมาของสังคม
เป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขไปสู่การปฏิบัติอันถูกต้อง”
3. ดร.
วิจิตร สินสิริ ได้แสดงทัศนะไว้ว่า “ประวัติศาสตร์คือบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ
ในอดีต เกี่ยวด้วยเรื่องเหตุการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ปรัชญาที่มนุษย์ได้คิดได้สร้างไว้ถือเป็นความเจริญรุ่งเรือง
และเป็นรากฐานของความเจริญสมัยต่อๆมา ดังนั้นเราจึงมีประวัติศาสตร์หลายแขนง เช่น ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
ประวัติศาสตร์อวกาศ ประวัติศาสตร์การเมืองฯลฯ
จากความหมายดังกล่าวข้างต้นของนักประวัติศาสตร์พอจะสรุปได้ว่า
ประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษา เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในอดีตซึ่งต้องอาศัยการค้นคว้าหาหลักฐาน
การวิเคราะห์ การตีความ การสังเคราะห์ โดยอาศัยข้อมูล
ร่องรอยหลักฐานต่างๆมาพิจารณา เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
จะเห็นได้ว่าประวัติศาสตร์มีความหมายหลายนัย
เช่น เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในอดีต เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ และมีวิธีการบันทึกอย่างเป็นระบบ
รวมทั้งประวัติศาสตร์สามารถเกิดขึ้นทุกขณะ ฯลฯ
วัฒนธรรมตะวันตกที่รับเข้ามาเพื่อพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า
วัฒนธรรมตะวันตกที่รัฐบาลไทยเห็นชอบให้นำเข้ามาเผยแพร่ทั่วไปนั้น
ส่วนใหญ่จะเป็นวิทยาการที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
มิชชันนารีได้นำความรู้ด้านการแพทย์และการรักษาพยาบาลแบบตะวันตก
เข้ามาเผยแพร่ควบคู่กับการเผยแผ่ศาสนา จนกระทั่งมิชชันนารีอเมริกันกลายเป็น
"หมอสอนศาสนา" ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ หมอบรัดเลย์
(Dr.
Dan Beach Bradley) และหมอเฮ้าส์ (Dr. House)ได้ทำการปลูกฝี
ผ่าตัด ทำคลอดและให้คำแนะนำด้านสุขอนามัยเพื่อป้องกันโรคระบาดร้ายแรง เช่น
อหิวาตกโรค
วิทยาการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้กลายเป็นรากฐานของการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน
เช่น การตั้งโรงพยาบาล
ด้านการศึกษา มิชชันนารีอเมริกันได้นำการศึกษาในระบบโรงเรียนเข้ามาเผยแพร่
โดยได้เปิดโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษและวิชาอื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์
และวิทยาศาสตร์ ให้กับบุคคลทั่วไป คือ โรงเรียนมัธยมสำเหร่
(หรือโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕
เป็นโรงเรียนสำหรับเด็กชายแห่งแรก และโรงเรียนกุลสตรีวังหลังสำหรับเด็กหญิง
(หรือโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยในปัจจุบัน) เมื่อพ.ศ. ๒๔๑๙
แม้ว่าจุดประสงค์สำคัญของมิชชันนารีจะต้องการสอนศาสนาควบคู่ไปกับการศึกษา
แต่การตั้งโรงเรียนได้กลายเป็นแบบอย่างที่รัฐบาลไทยเห็นความสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของชาติ
จึงมีการตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับบุตรหลานของเจ้านายและข้าราชบริพาร
ตลอดจนโรงเรียนสำหรับเด็กไทยทั่วไป ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
รวมทั้งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา (พ.ศ. ๒๔๖๔)
ในรัชสมัยพระ-บาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีโอกาสได้รับการศึกษาดังเช่นประชากรของชาติอื่นๆ
ทั้งในระดับประถมศึกษาและอุดมศึกษา
ด้านการพิมพ์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้อนุญาตให้มิชชันนารีนำแท่นพิมพ์มาใช้ในการพิมพ์เพื่อเผยแผ่ศาสนาและตั้งโรงพิมพ์
การพิมพ์ได้มีบทบาทสำคัญในด้านการประชาสัมพันธ์ สื่อสารกับประชาชน
และช่วยส่งเสริมการศึกษา ประชาชนมีโอกาสอ่านหนังสือพิมพ์เพื่อรับทราบข่าวสาร
วรรณกรรมวรรณคดี ประวัติศาสตร์ ทำให้ได้รับความรู้สร้างสรรค์ขึ้นกว่าแต่ก่อน
รวมทั้งมีโอกาสแสดงความคิดเห็นผ่านหนังสือพิมพ์ที่มีอยู่ขณะนั้น
เช่นบางกอกรีคอร์เดอร์ และบางกอกคาเลนดาร์
นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ใช้การพิมพ์เป็นสื่อในการเผยแพร่ข่าวสารของบ้านเมือง
ตลอดจนประกาศต่างๆ
นับว่าการพิมพ์มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนวิถีชีวิตของสังคมไทยที่เคยเป็นสังคมปิดไม่ค่อยมีโอกาสรับทราบข่าวสารต่างๆ
มากนัก
การคมนาคมและการสื่อสาร
ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา
รัฐบาลได้พัฒนาระบบการคมนาคมและการสื่อสาร
มีการสร้างทางรถไฟและถนนเพื่อใช้เป็นเส้นทางสัญจรทางบก นอกเหนือจากการสัญจรทางน้ำ
ซึ่งเป็นทางคมนาคมสำคัญที่ใช้ ตลอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ นอกจากนี้ยังมีการนำระบบสื่อสารซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่จากตะวันตกเข้ามา
เช่น ระบบไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ และยังได้นำรถยนต์ รถจักรยาน รถรางรถเมล์
เรือเมล์ เครื่องบิน มาใช้เป็นพาหนะในการคมนาคมอีกด้วย เทคโนโลยีด้านการสื่อสารและคมนาคมเหล่านี้
ล้วนมีส่วนทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการขยายตัวของชุมชนในทุกๆ ภูมิภาคของประเทศ
ความเจริญและเทคโนโลยีอื่นๆ
สังคมไทยรับความเจริญต่างๆ และด้านเทคโนโลยีมาปฏิรูปประเทศหลายด้าน เช่น
การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก ระบบกฎหมายและการศาล และระบบการเงินการคลัง การชลประทาน
และการสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ไฟฟ้า ประปา
ฯลฯซึ่งล้วนเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศในเวลาต่อมา
มิชชันนารีได้นำความรู้ทางด้านการแพทย์เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยโรงเรียนมัธยมสำเหร่
(กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในปัจจุบัน)
วัฒนธรรมที่รับมาเพื่อสร้างความทันสมัย
ในการติดต่อกับชาวตะวันตกโดยทั่วไปเจ้านายและขุนนางได้ปรับตัวให้ทันสมัยเพื่อมิให้เป็นที่ดูถูกเหยียดหยามของชาวตะวันตก
มีการรับแบบแผนประเพณีและค่านิยมแบบตะวันตกมาปรับปรุงการดำเนินชีวิต
และมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมในสังคมไทยอย่างรวดเร็ว
เนื่องจากราษฎรทั่วไปได้ยึดถือเป็นแบบอย่างและหล่อหลอมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทยในปัจจุบัน
อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกที่เห็นเด่นชัด ได้แก่ แนวความคิดแบบตะวันตก การแต่งกาย
การตกแต่งบ้านเรือน เครื่องเรือน การรับประทานอาหาร การกีฬาและนันทนาการ
แนวคิดแบบตะวันตก
เมื่อมีการพัฒนาด้านการศึกษาและการพิมพ์
วรรณกรรมตะวันตกทั้งที่เป็นแนววิชาการและบันเทิงจึงได้แพร่หลายเข้ามาสู่สังคมไทย
และมีอิทธิพลต่อการสร้างแนวคิดและสำนึกของไทย เช่น แนวคิดเกี่ยวกับการเมือง
การปกครองในระบอบประชาธิปไตย การเข้าใจถึงคุณค่าของมนุษย์
และความทัดเทียมกันแนวคิดต่างๆ
เหล่านี้ได้สะท้อนออกมาในรูปของวรรณกรรมที่ตีพิมพ์ในภาษาไทย เช่น
งานเขียนของเทียนวรรณ ดอกไม้สด ศรีบูรพา และ มาลัย ชูพินิจ
การแต่งกาย
ราชสำนักไทยและขุนนางเป็นกลุ่มแรก ที่รับเอาวัฒนธรรมการแต่งกายแบบตะวันตก
ทั้งของหญิงและชายมาประยุกต์ใช้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป ถึง ๒ ครั้ง
ก็ทรงฉลองพระ-องค์แบบตะวันตก ต่อมาการแต่งกายแบบตะวันตกของเจ้านายก็กลายเป็น
"พระราชนิยม" ที่คนทั่วไปยึดเป็นแบบอย่าง
การตกแต่งบ้านเรือน
นับตั้งแต่ชาวตะวันตกได้นำสถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาคารและการตกแต่งภายในแบบตะวันตกมาสู่สังคมไทยราชสำนักและชนชั้นสูงก็เริ่มปรับวิถีชีวิตตามแบบวัฒนธรรมดังกล่าว
จากเดิมที่เคยปลูกสร้างอาคารแบบเรือนไทยและค่อยๆ รับรูปแบบสถาปัตยกรรมและการตกแต่งแบบจีน
ก็เริ่มเปลี่ยนเป็นแบบตะวันตก
มีการสร้างที่อยู่อาศัยและตกแต่งบ้านเรือนด้วยเครื่องเรือนแบบตะวันตก เช่น โต๊ะ
ตู้ ภาพประดับ ของใช้ต่างๆ เช่น ช้อน ส้อม มีด ถ้วย ชาม ฯลฯ
นอกจากนี้ยังเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหารด้วยมือมาเป็นการใช้มีด ช้อน และส้อม แทน
วัฒนธรรมเหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน
การกีฬาและนันทนาการ
การกีฬาและนันทนาการแบบตะวันตก
เริ่มเข้ามาแพร่หลายในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เมื่อมีชาวตะวันตก เข้ามาติดต่อค้าขาย
และพำนักอยู่ในเมืองไทยการกีฬาแบบตะวันตกที่แพร่หลายในระยะแรกๆ คือ การขี่ม้า
ยิงปืน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กีฬาที่แพร่หลาย ได้แก่
ฟุตบอล รักบี้ เทนนิส แบดมินตัน แข่งม้า จักรยาน กรีฑา ยิมนาสติก ฟันดาบ
ในราชสำนักมีการเล่นกีฬาโครเกต์ (Croquet)
ต่อมาการกีฬาแบบตะวันตกได้แพร่หลายอยู่ในหลักสูตรพลศึกษาในโรงเรียน
มีการแข่งขันกีฬานักเรียนประเภทต่างๆ ที่แพร่หลายได้แก่ กรีฑา ฟุตบอล มวยสากล
และยิมนาสติก
นอกจากนี้แล้วยังทรงส่งเสริมให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศจัดตั้งสถาบันที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนันทนาการ
เช่น สโมสร บันเทิงสถานเมืองตรัง ราชกรีฑาสโมสร
และสโมสรราชเสวก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งขึ้นสำหรับข้าราชบริพารในพระองค์
จะเห็นได้ว่าการรับวัฒนธรรมตะวันตกทั้งเพื่อพัฒนาบ้านเมืองและเพื่อความทันสมัย
ล้วนมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวไทย
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีทั้งผลดีและผลเสียต่อสังคมไทย
การเล่นกีฬาโครเกต์
การเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลดีต่อสังคมไทย
ประการแรก
การรับความเจริญทางด้านการศึกษาและเทคโนโลยีต่างๆ
ทำให้เกิดการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ กล่าวคือสังคมไทยมีประชากรที่มีคุณภาพได้รับการศึกษา
อ่านออกเขียนได้ รู้จักคิดและใช้เหตุผล
ตลอดจนมีสุขภาพดีก็จะช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองทัดเทียมอารยประเทศได้
ประการที่สอง
ความรู้และเทคโนโลยีของชาติตะวันตก
มีส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่สังคมในด้านต่างๆ เช่น
การเพิ่มผลิตผลทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรมช่วยเพิ่มรายได้และความอยู่ดีกินดีให้กับพลเมือง
นอกจากนี้แล้วการคมนาคมยังช่วยส่งเสริมให้มีการขยายตัวของชุมชน
ในส่วนภูมิภาคช่วยให้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและเติบโต
มีการสื่อสารติดต่อกันได้สะดวกและรวดเร็ว
ประการที่สาม
วัฒนธรรมตะวันตกมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างการเมืองการปกครอง เช่น
การพัฒนาระบอบประชาธิปไตย การศาล การทหาร ฯลฯ
ล้วนมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยยืนหยัดรักษาเอกราชมาได้ตราบเท่าทุกวันนี้
การเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลเสียต่อสังคมไทย
การยึดถือเอาวัฒนธรรมตะวันตกไว้ในสังคมไทยโดยไม่กลั่นกรอง
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านค่านิยม
โดยเชื่อว่าวัฒนธรรมตะวันตกดีกว่าวิเศษกว่าวัฒนธรรมไทยดั้งเดิมเห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งล้าหลังและคร่ำครึค่านิยมเช่นนี้นับว่าเป็นผลเสียต่อบ้านเมืองเพราะก่อให้เกิดความหลงผิดและดูถูกวัฒนธรรมของตนเอง
นอกจากนี้แล้วบางครั้งยังยึดค่านิยมที่ผิดๆ เช่น
การยึดมั่นในวัตถุจนละเลยทางด้านจิตใจและคุณธรรม
การหลงใหลและชื่นชมวัฒนธรรมของชาติอื่นๆ มากเกินไป
ก็ทำให้เกิดการครอบงำทางวัฒนธรรม จนกระทั่งขาดความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
ซึ่งนับว่าเป็นผลเสียต่อการพัฒนาสำนึกของความเป็นชาติในระยะยาว
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมายถึง
ดินแดนที่อยู่ระหว่างจีนและอินเดีย
ปัจจุบันได้แก่ ประเทศพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์
อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และติมอร์ตะวันออก
ดินแดนเหล่านี้ในอดีตเรียกกันหลายอย่าง เช่น เอเชีย-ดินแดนมรสุม
ที่เรียกเช่นนี้เนื่องมาจากมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุม
ซึ่งมีความสำคัญต่อดินแดนบริเวณนี้ หรือ
เรียกว่า อินโดจีน เพราะอยู่ระหว่างอินเดียกับจีย ส่วนคำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เพิ่งเริ่มใช้ระหว่างสงครามโลกครั้งที่
2 เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรคือ สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
ได้ตั้งศูนย์บัญชาการการรบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South - East
Asia Command) ขึ้นในค.ศ.1943 เมื่อทำการสงครามกับญี่ปุ่น
การเรียกชื่อเช่นนี้เพื่อความเด่นชัดทางด้านภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดเขตการปฏิบัติการของกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร
โดยหมายความถึง ภูมิภาคที่ประกอบด้วยประเทศพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย
สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
โดยไม่รวมถึงฟิลิปปินส์ จนในทศวรรษ 1960
จึงรวมฟิลิปปินส์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาค และในค.ศ.1984
เมื่อบรูไนได้รับเอกราชก็เข้าร่วม รวมทั้งติมอร์ตะวันออกในค.ศ.2002
ดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้มีหลักฐานของมนุษย์อยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
คือ พบมนุษย์ชวา ในถ้ำแห่งหนึ่งบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นมนุษย์วานรในสมัยหินเก่า
ที่ยังมีการเร่ร่อนอาศัยอยู่ตามถ้ำ ต่อจากนั้นมาอีกหลายพันปี
เมื่อเข้าสู่ยุคหินกลาง
เป็นช่วงระยะที่มีการอพยพของมนุษย์เผ่าพันธุ์ต่างๆจากแผ่นดินใหญ่ลงสู่ภาคใต้
และข้ามไปยังหมู่เกาะต่างๆ ได้แก่พวก ออสเตรลอยด์ (Australoid) เนกริโก (Negreto) พวกเมลาเนซอยด์ (Malanesoid)
ปัจจุบันกลายเป็นคนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลีย
และหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุคหินใหม่มีการอพยพของชนกลุ่มใหญ่เป็นพวกชาติพันธุ์มองโกลอยด์มากที่สุด
อพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชียโดยเฉพาะบริเวณประเทศจีนและทิเบต
เข้าสู่บริเวณที่ราบลุ่มของภูมิภาคคือ ลุ่มแม่น้ำแดง แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน
แม่น้ำอิระวดี แม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งกลุ่มที่อาศัยอยู่ในภูเขาและที่ราบสูง เช่น
ชาวเขาเผ่าต่างๆ
บางพวกอพยพลงมาทางใต้เข้าสู่บริเวณคอคอดกระจนถึงแหลมมลายูและบริเวณหมู่เกาะ
บ้างตั้งแหล่งอาศัยอยู่ถาวร บ้างอพยพย้อนกลับขึ้นบนพื้นแผ่นดินใหญ่อีก
ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ทำให้ชุมชนในภูมิภาคได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำ
และที่ราบชายทะเล ผู้นำพื้นเมืองได้รวบตัวตั้งเป็นชุมชนต่าง ๆ
และมีการพัฒนาการมาเป็นลำดับ สามารถปลูกข้าวเลี้ยงดูประชากร
สร้างคติและความเชื่อของตน จากที่ตั้งของภูมิภาคที่อยู่กึ่งกลางระหว่าง 2 อาณาจักรใหญ่ คือ จีนและอินเดีย
จึงได้รับอิทธิพลเข้ามาพร้อมกับการค้าขายแลกเปลี่ยน จึงนำวัฒนธรรม
ความเจริญของทั้งสองแห่งมาผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิม เช่น แบบแผนการปกครองแบบอินเดีย แนวคิดของพุทธศาสนา และ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู
ดินแดนทางตอนล่างของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สัมพันธ์กับพ่อค้าชาวอินเดียโดยการค้า
เนื่องจากพบหลักฐานทางวัตถุจากอินเดียและโรมในภูมิภาคนี้ เช่น หินหยก
ลูกปัดลวดลายแบบอินเดีย ภาชนะสำริด เหรียญทองแดงของจักรพรรดิโรมัน ตะเกียงโรมันที่พงตึกและตราโรมันที่ออกแก้ว
หลักฐานเหล่านี้เป็นสื่อของการแลกเปลี่ยนระหว่างการค้าทางแถบชายฝั่งจากการแล่นเรือของพ่อค้าชาวอินเดียมาทางหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ผ่านลงทางภายใต้ของประเทศไทย
และอีกส่วนหนึ่งเลียบฝั่งทะเลอันดามันเข้าทางทิศตะวันตกของประเทศไทยสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมกันนั้น
ก็พบหลักฐาน ของการอาณาจักรต่างๆ ในเอกสารของจีน
แสดงถึงการติดต่อค้าขายกันเป็นอย่างดี
อาณาจักรต่างๆที่พัฒนาขึ้นมา
มีดินแดนกว้างขวาง( ครอบคลุมหลายประเทศในปัจจุบัน ) เช่น
อาณาจักรฟูนัน ครอบครอง ประเทศกัมพูชา
เวียดนามตอนใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย บางตอนของที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
และภาคใต้ของไทย ลงมาถึงแหลมมลายู สถานที่ตั้งทางด้านยุทธศาสตร์ของฟูนัน
ทำให้สามารถควบคุมเส้นทางช่องแคบเชื่อมฝั่งทะเลของอ่าวไทยเข้ากับทะเลอันดามันและเมืองท่าต่างๆของจีนตอนใต้
ทำให้มีความมั่งคั่งและอิทธิพลทางด้านการเมือง
ฟูนันมีอำนาจการปกครองเหนือลังกาสุกะ(Langkasuka มีเมืองหลวงอยู่ในบริเวณปัตตานีปัจจุบัน)
และเมืองตามพรลิงค์(Tambralings มีเมืองหลวงอยู่ที่นครศรีธรรมราชหรือเมืองไชยา
จ.สุราษฎร์ธานี) เมืองทั้งสองตั้งอยู่สองฝั่งเส้นทางเดินเรือค้าขายที่สำคัญ
อาณาจักรฟูนันเป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมอินเดียในอินโดจีน
และเป็นรัฐที่เป็นรากฐานของประเทศกัมพูชา
เมื่อสิ้นสุดอาณาจักรฟูนัน อาณาจักรที่เจริญขึ้นแทนที่ คือ
อาณาจักรขอมซึ่งเจริญอยู่หลายพันปี จนสิ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาณาจักรอ่อนแอลง
ทำให้ชนชาติไทยซึ่งตั้งหลักอยู่บริเวณตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รวมกำลังตั้งเป็นรัฐอิสระจากเขมร คือ อาณาจักรสุโขทัย และ อาณาจักรล้านนา ต่อมาอิทธิพลขอมอ่อนลง
มีการตั้งอาณาจักรอยุธยาและในค.ศ.1431
ได้ยกกองทัพไปตีนครธมโดยเจ้าสามพระยา อำนาจของเขมรที่มียาวนานกว่า 600 ปีได้สิ้นสุดลง แต่อาณาจักรเขมรยังคงอยู่โดยย้ายราชธานีไปอยู่ที่พนมเปญ
เพื่อให้ห่างไกลจากราชอาณาจักรไทย
เมืองนครวัดและนครธมถูกปล่อยเป็นเมืองร้าง
อาณาจักรทวารวดี
วัฒนธรรมทวารวดีได้แพร่กระจายจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทางภาคกลางของประเทศไทยไปทั่วทุกภูมิภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
จากชุมชนโบราณที่โคกสำโรง และบ้านหมี่จังหวัดลพบุรี และเมืองศรีเทพ
เพชรบูรณ์ซึ่งเป็นเมืองสำคัญจากลุ่มแม่น้ำป่าสักไปสู่ลุ่มแม่น้ำมูล
และลุ่มแม่น้ำชีทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รวมไปถึงตอนใต้ของพม่า
อาณาจักรศรีวิชัย
ความสำคัญของศรีวิชัยที่ปรากฏจากจดหมายเหตุของจีนสมัยราชวงศ์ถังคือเป็นศูนย์กลางการค้าขายสินค้าข้ามสมุทรทางฝั่งทะเลตะวันตกและตะวันออก
ผ่านช่องแคบมะละกา ดังนั้นจึงได้พบ
ลูกปัดจากดินแดนทางตะวันตกและเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง
ซึ่งพบเรื่อยลงมาทั้งที่เกาะสุมาตราและทางภาคใต้ของประเทศไทย
(แคว้นไชยา)จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบโดยกว้างจากปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา
อินโดนีเซีย มาจนถึงคาบสมุทรมาเลย์และทางภาคใต้ของประเทศไทย
ได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับศรีวิชัยคือ “ศรีวิชัย”
ไม่ใช่ชื่ออาณาจักรที่มีศูนย์กลางของอำนาจในทางการเมืองและควบคุมเศรษฐกิจอยู่เมืองใดเมืองหนึ่งเพียงแห่งเดียว
แต่ศรีวิชัยเป็นชื่อกว้าง ๆ ทางศิลปะ
และวัฒนธรรมของบ้านเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าทางทะเลแถบคาบสมุทร
กลุ่มบ้านเมืองหรือแว่นแคว้นต่าง ๆ เหล่านี้มีวัฒนธรรมร่วมกันคือ
การนับถือพุทธศาสนามหายานและมีรูปแบบศิลปกรรมแบบศรีวิชัยเช่นเดียวกัน
จากตัวอย่าง ของอาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แสดงให้เห็นว่าบรรพบุรุษของประชาชนในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ต่างมากจากรากเง้าเดียวกัน
มีพื้นฐานด้านวัฒนธรรมประเพณีเดียวกันมาก่อน บางดินแดนก็คาบเกี่ยวกัน
ยากที่จะบอกว่าเป็นของชนชาติใดอย่างแน่นอนตายตัว
เมื่อกาลเวลาที่เปลี่ยนไปนับพันปี ย่อมทำให้บางอาณาจักรต้องเสื่อมสลายไป
และมีอาณาจักรใหม่เจริญขึ้นมาแทนที่
สมัยล่าอาณานิคม
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16-19 ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกชาติตะวันตกเข้ายึดครอง ในตอนแรก ชาติตะวันต้องการผูกขาดสินค้า
โดยเฉพาะสินค้าเครื่องเทศ ซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากในการถนอมอาหาร
(บางประเทศต้องการเผยแผ่ศาสนา ได้แก่ฝรั่งเศส) แต่เมื่อประเทศในยุโรป
ต่างแย่งชิงผลประโยชน์กันเอง ทำให้ต้องใช้กำลังทหารปกครองผลประโยชน์ของชาติตน
และนำไปสู่การใช้กำลังเข้ายึดครอง หลังจากนั้นจึงใช้กำลังทหารบังคับให้ดินแดนต่างๆ
ดำเนินนโยบายแบบที่ตนต้องการ
ประเทศต่างๆที่ต้องตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก
ได้แก่ พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ลาว กัมพูชา เวียดนาม
เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมของสเปน และต่อมาเป็นสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ ยกเว้นเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่รอดพ้นจากการยึดครอง
จนเมื่อสงครามโลก ครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945
จึงทยอยกันได้รับเอกราชแต่รูปแบบการเมือง
การปกครองของแต่ละประเทศได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
และในช่วงของการเรียกร้องเอกราชนั้น ทำให้บางประเทศต้องเผชิญกับภาวะสงครามอย่างยาวนาน โดยเฉพาะเวียดนาม
เพราะชาติมหาอำนาจ(คือสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส)ต้องการคงอิทธิพลของตนไว้
ไม่ต้องการให้จีน หรือ รัสเซียเข้ามามีอิทธิพลแทนที่
แหล่งอารยธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากการที่ประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เคยอยู่ภายใต้อาณาจักรเดียวกัน
หรือคาบเกี่ยวกับมาก่อน ประกอบกับได้รับอิทธิพลจากจีน-อินเดีย
และได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ หรือ ศาสนาพราหมณ์
เหมือนกัน จึงทำให้ให้มีแหล่งโบราณสถานจำนวนมาก ที่มีส่วนคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง
ดังจะยกตัวอย่าง ดังนี้
มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ
(ภาษาอินโดนีเซีย: Chandi Borobudur) ตั้งอยู่ในภาคกลางของเกาะชวา
ห่างจากยอกยาการ์ตาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 40 กิโลเมตร
สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 1293 - 1393
โดยบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ถ้าไม่นับนครวัดของกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ
บุโรพุทโธจะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในปีพ.ศ. 2534
องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้บุโรพุทโธเป็นมรดกโลก
เมืองหลวงพระบาง
เป็นเมืองเอกของแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน ซึ่งไหลมาบรรจบกัน
เป็นเมืองที่องค์การยูเนสโกได้ยกย่องให้เป็นมรดกโลกด้วย
เว้
เป็นเมืองเอกของจังหวัดถัวเทียน-เว้ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
และเคยเป็นเมืองหลวงเก่าในสมัยราชวงศ์เหงียนช่วงปี พ.ศ. 2345-2488 มีชื่อเสียงจากโบราณสถานที่มีอยู่ทั่วเมือง จำนวนประชากรอยู่ที่ประมาณ 340,000 คน
หมู่โบราณสถานในเมืองเว้ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกในปี
พ.ศ. 2536
เจดีย์ชเวดากอง ตามตำนานนั้นสร้างเมื่อ 2,500 ปีที่แล้ว แต่นักโบราณคดีเชื่อกันว่าสร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6-10 สร้างโดยชาวมอญ
พระเจดีย์ได้ถูกทิ้งร้างจนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14
เมื่อพระเจ้า พินยาอู
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระเจดีย์ใหม่สูง 18 เมตร
พระเจดีย์ได้ถูกซ่อมแซมมาเรื่อยมา จนมามีความสูง 98
เมตรในคริสต์ศตวรรษที่ 15 แผ่นดินไหวเล็กๆน้อยๆ
เรื่อยมาทำให้พระเจดีย์นั้นได้รับความเสียหาย และเมื่อปี พ.ศ. 2311 (ในสมัยกรุงธนบุรี) ได้เกิดแผ่นดินไหวอย่างหนัก
ทำให้ยอดของพระเจดีย์หักถล่มลงมา
นครวัด
ตั้งอยู่ที่เมืองเสียมราฐ (เสียมเรียบ) ในประเทศกัมพูชา
สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
ในพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อเป็นศาสนสถานประจำนครของพระองค์
เมื่อสมัยแรกนั้น นครวัดได้ถูกสร้างเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย
แต่ต่อมาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ได้เปลี่ยนให้เป็นวัดในศาสนาพุทธนิกายมหายาน
ในปัจจุบันปราสาทนครวัดนับเป็นสิ่งก่อสร้างสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา
และได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร ในปี ค.ศ. 1586 พ.ศ. 2129ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ
ดา มักดาเลนา เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดนั้น
คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส
เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมา
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย
ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย
จังหวัดสุโขทัย
ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร
มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน
ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวังและวัดอีก 26 แห่ง
วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรด้วยความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก
มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี ซึ่งสามารถเดินเท้าหรือขี่จักรยานเที่ยวชมได้
ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534
องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ที่กำแพงเพชรและศรีสัชนาลัยภายใต้ชื่อว่า
"เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร" (Historic Town of
Sukhothai and Associated Historic
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1. ลักษณะทั่วไปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย
ระหว่างประเทศใหญ่ 2 ประเทศ คือ จีนกับอินเดีย
ในอดีตทำให้เรียกดินแดนนี้ว่า เอเชียใน หรือเอเชียกลาง
ส่วนคำว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นคำใช้ครั้งแรกในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
2. ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ในเขตร้อนระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับอ่าวเบงกอล
หรือ ระหว่างประเทศอินเดียกับจีน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย
โดยมีเส้นศูนย์สูตรผ่าน เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว และเกาะสุลาเวซี (ก.เซลีเบส)
ประเทศอินโดนีเซีย
3. ขนาดที่พื้นที่
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ประมาณ 4.6 ล้านตารางกิโลเมตร
4. อาณาเขต
1. ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศจีน
2. ทิศตะวันออก ติดต่อกับ มหาสมุทรแปซิฟิก
3. ทิศใต้ ติดต่อกับ มหาสมุทรอินเดีย
4. ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ่าวเบ่งกอล
หรืออ่าวเมาะตะมะ ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ
ที่มา : www.baanjomyut.com
ที่มา : www.baanjomyut.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น