วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

หลักธรรมพระพุทธศาสนา


 

สรุปหลักธรรมพระพุทธศาสนา

        พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม คือ ไม่นับถือพระเจ้าเกิดขึ้นเมื่อ ๔๕ปีก่อนพุทธศักราชผู้เป็นศาสดา คือ พระพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะเหตุผลที่ดลใจให้เจ้าชายสิทธัตถะหนีออกไปผนวช เพราะพระองค์ขณะเสด็จประพาสอุทยานทรงเห็นคนเกิด คนแก่ คนป่วยและคนตาย พระองค์ทรงคิดว่าสิ่งเหล่านี้คือความไม่แน่นอนของชีวิต พระองค์จึงมีความปรารถนาที่จะเสาะแสวงทางดับทุกข์ดังกล่าว

-         พระชนมายุ ๒๙ พรรษา ทรงออกผนวช

-         พระชนมายุ ๓๕ พรรษา ทรงตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

-         พระชนมายุ ๘๐ พรรษา เสด็จดับขันธปรินิพพาน ก่อนปรินิพพานได้ประทานปัจฉิมโอวาทแก่สาวก

และทรงเตือนให้สาวกปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความไม่ประมาท (อับปมาทธรรม)

หลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา

1. ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม

  1.1 รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่

- ธาตุดิน (ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม)

- ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา )

- ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร)

- ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์)

นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นหรือจิตใจ ได้แก่

  1.2 เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา ไม่ยินดียินร้าย

  1.3 สัญญา คือ ความจำได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส เมื่อสัมผัสอีกครั้งก็สามารถบอกได้

  1.4 สังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว หรือเป็นกลาง สิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งจิต ได้แก่ เจตนา ค่านิยม ความสนใจ ความโลภ และความหลง

 1.5 วิญญาณ คือ ความรับรู้ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ 6)

2. อริยสัจ 4  แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ เป็นหลักคำสอนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา  เพราะเป็นคำสอนที่จะช่วยให้บุคคลรอดพ้นจากความทุกข์เพื่อสู่นิพพาน ได้แก่

1. ทุกข์ หมายถึง สภาพที่ทนได้ยากทั้งร่างกายและจิตใจ

1.1 สภาวทุกข์ หรือ ทุกข์ประจำ ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย

1.2 ปกิณกทุกข์ หรือทุกข์จร เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไปและเกิดขึ้นเนืองๆ

เช่น ความเศร้าโศก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ

2. สมุทัย หมายถึง เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา( ความอยาก)

2.1 กามตัณหา คือ อยากในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ตนยังไม่มี

2.2 ภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากให้สภาพที่ตนปรารถนาอยู่นานๆ

2.3 วิภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากให้สภาพที่ตนปรารถนาอยู่นานๆ

3. นิโรธ หมายถึง ความดับทุกข์ คือ ให้ดับที่เหตุ ซึ่งมีขั้นตอนตามลำดับในมรรค 8

4. มรรค มีองค์ 8 หนทางแห่งการดับทุกข์
4.1 สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ คือ มีความเข้าใจว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือสาเหตุแห่งทุกข์ อะไรคือความดับทุกข์

4.2 สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ คือ ความคิดที่ปลอดโปร่ง ความคิดไม่พยาบาท ความคิดไม่เบียดเบียน
4.3 สัมมาวาจา วาจาชอบ คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ

4.4 สัมมากัมมันตะ การงานชอบ คือ ไม่ทำลายชีวิตคนอื่น ไม่ขโมยของ ไม่ผิดในกาม

4.5 สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ คือ การทำมาหากินด้วยอาชีพสุจริต
4.6 สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ คือ เพียรระวังมิให้ความชั่วที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียรละความชั่วที่เกิดขึ้น เพียรรักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้ว
4.7 สัมมาสติ ความระลึกชอบ คือ พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม

4.8 สัมมาสมาธิ การตั้งใจชอบ คือ การตั้งจิตที่แน่วแน่อยู่ในอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน เพื่อมุ่งมั่นกระทำความดี

จากอริยสัจ 4 สังเกตได้ว่า


1. ทุกข์ คือ ตัวปัญหา                       2. สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหา

3. นิโรธ คือ การแก้ปัญหา                  4. มรรค คือ วิธีการแก้ปัญหา

-  มรรคมีองค์แปด คือ ไตรสิกขา ได้แก่

ศีล             สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ

สมาธิ         สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ปัญญา        สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ

ความสำคัญของอริยสัจ 4 

1. เป็นคำสอนที่คลุมหลักธรรมทั้งหมดของพระพุทธศาสนา

2. เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามหลักวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแห่งปัญญา

3. คำสอนที่ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ตามหลักความจริงแห่งธรรมชาติ

3. ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งปวง

1. อนิจจตา หรือ อนิจจัง ความไม่คงที่ ไม่เที่ยง ไม่ถาวร ไม่แน่นอน

2. ทุกขตา หรือ ทุกขัง สภาพที่อยู่ในสภาวะเดิมไม่ได้ ต้องแปรปรวนไป

3. อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตนแท้จริง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ไม่มีใครเป็นเจ้าของ

  ในเรื่องไตรลักษณ์ พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นคำสอนสูงสุด ซึ่งทุกสิ่งในสากลจักรวาลล้วนเป็น

อนัตตาทั้งสิ้น

4. กฎแห่งกรรม หมายถึง กระบวนการกระทำและการให้ผลการกระทำของมนุษย์ ซึ่งมีหลักอยู่ว่า คนหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำความดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว

กรรม คือ การกระทำทางกาย วาจา หรือใจ ที่ประกอบด้วยเจตนา ดังพุทธวจนะตรัสว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาเป็นกรรม บุคคลจงใจแล้ว ย่อมกระทำทางกาย ทางวาจาและทางใจ

5. พรหมวิหาร 4 ธรรมสำหรับผู้เป็นใหญ่ ผู้ปกครอง พ่อแม่ จำเป็นต้องมีไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับดำเนินชีวิต ได้แก่

1. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข

2. กรุณา ความสงสาร ต้องการที่จะช่วยบุคคลอื่น สัตว์อื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์

3. มุทิตา ความชื่นชมยินดีเมื่อเห็นบุคคลอื่นเขาได้ดี

4. อุเบกขา ความวางเฉยไม่ดีใจไม่เสียใจ เมื่อบุคคลอื่นประสบความวิบัติ

6. อัปปมาท  ธรรมที่กล่าวถึงความไม่ประมาท คือ การดำเนินชีวิตที่มีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติและการกระทำทุกอย่าง ระมัดระวังไม่ถลำตัวไปในทางเสื่อมเสีย พระพุทธเจ้าทรงมีพระดำรัสเกี่ยวกับความไม่ประมาทว่า ความไม่ประมาท ย่อมเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่

7. สังคหวัตถุ 4 หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจคน

1. ทาน การให้

2. ปิยวาจา การกล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน

3. อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์

4. สมานัตตตา การประพฤติตนสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง

8. ฆราวาสธรรม 4  หลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ได้แก่

1. สัจจะ การมีความซื่อตรงต่อกัน

2. ทมะ การรู้จักข่มจิตของตน ไม่หุนหันพลันแล่น

3. ขันติ ความอดทนและให้อภัย

4. จาคะ การเ สียสละแบ่งปันของตนแก่คนที่ควรแบ่งปัน

9. บุญกิริยาวัตถุ 10  หลักธรรมแห่งการทำบุญ ทางแห่งการทำความดี 10 ประการ

1. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน

2. ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล

3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา

4. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่

5. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ

6. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ

7. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ

8. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม

9. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม

10. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญสำเร็จด้วยการทำความคิดความเห็นของตนให้ตรง

10. สัปปุริสธรรม 7  หลักธรรมของคนดี หรือคุณสมบัติของคนดี

1. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ

2. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล

3. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน

4. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ

5. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา

6. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักชุมชน

7. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกคบคนดี

เป้าหมายของชีวิต 

พระพุทธศาสนาวางเป้าหมายชีวิตไว้ 3 ระดับ

1.             เป้าหมายระดับพื้นฐาน (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) หมายถึง เป้าหมายประโยชน์ในระดับชีวิตประจำวันที่

มนุษย์ในสังคมต้องการ คือ

-         ขยันหมั่นเพียร (อุฏฐานสัมปทา)

-         เก็บออมทรัพย์ (อารักขสัมปทา)

-         คบคนดีเป็นเพื่อน (กัลยาณมิตตตา)

-         ใช้ทรัพย์เป็น (สมชีวิตา)

2. เป้าหมายระดับกลาง (สัมปรายิกัตถะ) เน้นที่ความเจริญงอกงามแห่งจิตใจ เป็นคุณค่าที่แท้จริงของ
ชีวิต คือ

-         มีศรัทธา เชื่อในพระรัตนตรัย เชื่อในกรรม และผลของกรรม

-         มีศีล ความประพฤติทางกาย วาจา เรียบร้อย
-         จาคะ ความเสียสละ

-   ปัญญา รู้อะไรดีอะไรชั่ว

3. เป้าหมายระดับสูงสุด (ปรมัตถะ) หมายถึง ประโยชน์ที่เป็นแก่นแท้ของชีวิต เป็นจุดหมายสุดท้ายที่วิตจะพึงบรรลุ คือ การบรรลุนิพพาน
 

 

 
           ที่มา : http://kroopu.wordpress.com
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น