วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

การปกครองท้องถิ่นของไทย


การปกครองท้องถิ่นของไทย
                ก่อนที่จะศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นของไทยในรายละเอียดนั้น  ควรที่จะทำความเข้าใจการบริหารประเทศหรือการบริหารราชการแผ่นดินโดยภาพรวม  เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารราชการส่วนต่าง ๆ  ต่อไป

ความเป็นมาของการบริหารราชการแผ่นดินของไทย
1.              การบริหารราชการแผ่นดินก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง  ปี  พ..2475
       การบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทยในปัจจุบัน มีวิวัฒนาการมาจากการ
ปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่  ที่ได้ทรงวางรากฐานการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค  โดยในส่วนกลางได้มีการจัดโครงสร้างการบริหารตามหน้าที่  ( function )  ในรูปกระทรวงแทนการจัดตามพื้นที่ดังที่เป็นมาแต่โบราณ  ในส่วนภูมิภาคได้ปรับปรุงกลไกการบริหารราชการภูมิภาคใหม่ให้สามารถกระชับอำนาจการปกครองสู่ศูนย์กลางและแผ่ขยายพระราชอำนาจของส่วนกลางครอบคลุมหัวเมืองและประเทศราชได้อย่างจริงจังโดยนำเอาระบบ  เทศาภิบาล”  มาใช้อันเป็นรากฐานสำคัญของการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในทุกวันนี้  มีการแต่งตั้งคนจากส่วนกลางไปดำรงตำแหน่งยังหัวเมืองต่าง ๆ  และจัดโครงสร้างการบริหารในรูป  มณฑล”  นอกจากนี้ยังทรงได้ริเริ่มให้คนในท้องถิ่นได้ร่วมในการบริหารงานท้องถิ่นในรูป  สุขาภิบาล”  ขึ้นในเขตราชธานี  (กรุงเทพฯก่อนที่จะขยายไปยังหัวเมือง  ทั้งได้ทรงจัดการ  การปกครองท้องที่”  ใหม่  ในระดับตำบล  หมู่บ้าน
                การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่  จึงเป็นไปอย่างทั่วด้าน  ทั้งในแง่โครงสร้าง  ระบบการบริหารงานในกิจการต่าง ๆ  ของรัฐ  นับเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง  อำนาจ  หน้าที่และความสัมพันธ์ทางอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่  และอาจกล่าวได้ว่าเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว  นับแต่รัชกาลที่  จนถึงปัจจุบัน  ทั้งนี้การปฏิรูปที่เกิดขึ้นก็เพื่อการรักษาเอกราชและความมั่นคง  (ปธาน  สุวรรณมงคล  และคณะ, 2537 : 21-22) 
                กล่าวโดยสรุป  การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่  นับเป็นการวางรากฐานสำคัญของการจัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินในระยะต่อมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหาราชการส่วนกลาง  และส่วนภูมิภาคที่เน้นการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง
2.              การบริหารราชการแผ่นดินหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พ.. 2475
2.1.    การบริหารราชการแผ่นดินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหาร
แห่งราชอาณาจักรสยาม  พ.2476
                                หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พ.. 2475   ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม  พ.. 2475  วางกรอบกติกาทางการเมืองการปกครอง  ในปีถัดมาจึงได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม  พุทธศักราช  2476  วางโครงสร้างการบริหาราชการแผ่นดินหลังจากที่มีการเปลี่ยนระบบการปกครองใหม่  โดยเหตุผลสำคัญของการตรากฎหมายฉบับนี้คือ  เพื่อต้องการจัดรูปแบบงานให้เข้าลักษณะการปกครองอย่างรัฐธรรมนูญ  และเพื่อจะให้การบริหารราชการแผ่นดินรวบรัดและเร็วยิ่งขึ้น  สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้  ดังนี้  (ชูวงศ์  ฉายะบุตร , 2539 : 66-67)
                                1. มีการจัดระเบียบการบริหารราชการออกเป็น  ส่วน  ได้แก่  ราชการบริหารส่วนกลาง  ราชการบริหารส่วนภูมิภาค  และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น  ซึ่งรัฐบาลโดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม  ได้ชี้แจงต่อสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า  ส่วนกลาง  คือ  คณะรัฐมนตรี  เช่น  กระทรวง  ทบวง  กรม  ส่วนภูมิภาค  หมายถึง  การส่งข้าราชการไปประจำ  และส่วนท้องถิ่น  หมายถึง  เทศบาล
                                2. มีการกำหนดฐานะของกระทรวงให้เป็นทบวงการเมือง  ซึ่งในบรรพหนึ่งแห่งกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  อันเป็นกฎหมายที่มีมาก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พ.. 2475  ระบุว่า  ทบวงการเมืองเป็นนิติบุคคล  อันมีนัยว่าหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลนี้มีฐานะทางกฎหมายที่จะเป็นคู่สัญญาในทางกฎหมายได้  และมาตรา  112  แห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบราชการบริหารฉบับนี้ยังระบุว่า  กรมซึ่งขึ้นตรงต่อกระทรวงให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลด้วยเช่นกัน  (สำหรับจังหวัดเพิ่งจะมีฐานะเป็นนิติบุคคลในปี  พ.. 2495)
                                3. มีการปรับโอนอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคให้อยู่กับคณะกรมการจังหวัด  และคณะกรมการอำเภอ  แทนที่จะอยู่กับผู้ว่าราชการจังหวัด  (ข้าหลวงประจำจังหวัดและนายอำเภอดังเช่นก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง
                                4. ยกเลิกมณฑลคงเหลือแต่จังหวัด  อำเภอที่เป็นราชการส่วนภูมิภาค
                                5. กำหนดราชการบริหารส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นมา  ได้แก่  รูปเทศบาล  (ปธาน  สุวรรณมงคล  และคณะ, 2537 : 22-23)
                        2.2. การบริหารราชการแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พ..2495
                                หลังจากที่มีการใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม  พุทธศักราช 2476  มาเป็นเวลาเกือบ  20  ปี  จึงได้มีการยกเลิกและประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พ.. 2495  แทน  เหตุผลในการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ก็คือ
                                1. ให้ปลัดกระทรวงมีอำนาจรับผิดชอบในราชการประจำของกระทรวง มีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงได้
                                2. การกระจายอำนาจสั่งการจากส่วนกลางไปส่วนภูมิภาคให้เกิดความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการบริหารราชการ
                                3. ปรับปรุงการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเสียใหม่
                                พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พ.. 2495  ได้มีการปรับปรุงแก้ไขอีกครั้ง  ในปี  พ.. 2496 (ฉบับที่  2)  .. 2499  (ฉบับที่  3)  .2499 (ฉบับที่  4)  .. 2503  (ฉบับที่  5)  และต่อมาในปี  พ.. 2505  ได้มีการประกาศให้พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี  ทั้งนี้เพื่อให้สำนักนายกรัฐมนตรี  ซี่งก็เป็นราชการบริหารส่วนกลางอยู่ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเช่นเดียวกับกระทรวงต่าง ๆ  ได้แยกออกมาจัดระเบียบเป็นพิเศษ  กฎหมายฉบับนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีก  ครั้ง  ในปี  พ.. 2506 , .. 2507 , .. 2508 , .. 2509 , .. 2510 , .. 2511 , .. 2512  และ  พ.. 2514
                                การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในช่วงนี้ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เป็นไปตามเหตุผลในการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้  กล่าวคือ  (โปรดดู ปธาน  สุวรรณมงคล และคณะ,  2537  :  25-26)  มีการระบุชัดเจนในมาตรา  16  ว่า  กระทรวงหนึ่ง ๆ  นอกจากมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง  รัฐมนตรีช่วยว่าการ  หรือรัฐมนตรีสั่งราชการให้มีปลัดกระทรวงคนหนึ่งเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการประจำของกระทรวงรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง  และรับผิดชอบในราชการประจำของกระทรวง



2.3.    การบริหารราชการแผ่นดินตามประกาศคณะปฏิวัติ  ฉบับที่  218
ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติตนเองโดย  จอมพลถนอม  กิตติขจร  และคณะ  ในปี  พ..
2515  ได้มีการยกเลิกกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พ.. 2495  และประกาศใช้ประกาศคณะปฏิวัติ  ฉบับที่  218  แทน  ซึ่งก็ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีก  ครั้ง  เหตุผลสำคัญของการประกาศใช้ประกาศคณะปฏิวัติ  ฉบับที่  218  จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ก็เพราะบทบัญญัติของกฎหมายเดิมบางมาตราไม่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบของข้าราชการบางตำแหน่งและได้มีการจัดระเบียบกระทรวง  ทบวง  กรมใหม่  จึงจำเป็นต้องปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องด้วย
                                อย่างไรก็ตาม  การบริหารราชการตามกฎหมายดังกล่าวก็มีปัญหาและอุปสรรคหลายประการ  ได้แก่  (ปธาน  สุวรรณมงคล และคณะ,  2537  :  26-27)
                                ประการแรก  การซ้ำซ้อนอันเนื่องจากการขยายงาน  เนื่องจากส่วนราชการระดับกรมสามารถบริหารงาน  ริเริ่ม  วินิจฉัยสั่งการได้ค่อนข้างเป็นเอกเทศ  ทำให้ต่างขยายการทำงานออกไปกว้างขวางและก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน
                                ประการที่สอง  ขาดบทบัญญัติที่ให้อำนาจรัฐมนตรีอย่างชัดเจนที่จะกำหนดนโยบายในการกำกับควบคุมการปฏิบัติราชการของกระทรวง  ประกอบกับส่วนราชการระดับกรมมักมีกฎหมายพิเศษ  ให้อำนาจส่วนราชการหรือหัวหน้าส่วนราชการเป็นการเฉพาะ  ทำให้สามารถกำหนดนโยบาย  แผนและของบประมาณไปตามนโยบายของกรมได้อย่างค่อนข้างเป็นเอกเทศ  นโยบายระดับชาติของรัฐบาลจึงไม่สามารถได้รับการตอบสนองอย่างพร้อมเพรียงและประสานกันอย่างแท้จริง
                                ประการที่สาม  ขาดการกำหนดแผนงานในระดับกระทรวงอย่างแท้จริง  เนื่องจากส่วนราชการระดับกรมสามารถกำหนดแผนงานไปตามหน้าที่เฉพาะ  และความคิดของตนแล้วไปรวมเล่มเข้าเป็นแผนกระทรวงเท่านั้น  ทำให้การดำเนินงานของกระทรวงไม่สามารถบรรลุนโยบายที่รับมอบจากรัฐบาลได้
                                ประการที่สี่  การมีกฎหมายพิเศษที่ระบุอำนาจหน้าที่เป็นการเฉพาะแก่ส่วนราชการระดับกรม
                                ประการที่ห้า  อำนาจยังไปกระจุกตัวอยู่ที่หัวหน้าส่วนราชการมากเกินไป  เพราะบทบัญญัติในกฎหมายไม่เอื้ออำนวยต่อการให้มีการมอบอำนาจลดหลั่นลงไป  ระดับต่าง ๆ  และบทบัญญัติก็มีความไม่ชัดเจนในเรื่องนี้  ทำให้เจ้าของอำนาจยังไม่กล้าที่จะมอบอำนาจไป
                                ประการที่หก  การขาดเอกภาพในการบริหารงาน  เนื่องจากมีหน่วยงานของรัฐเข้าไปปฏิบัติงานในจังหวัดเป็นจำนวนมาก  โดยไม่ถือว่าเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค  เป็นเหตุให้ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่สามารถควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของส่วนราชการให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐได้
                       2.4.   การบริหารราชการแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พ.. 2534 
                                ประกาศคณะปฏิวัติ  ฉบับที่  218  ได้เป็นกฎหมายหลักในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมาเกือบ  20  ปี  แม้จะมีรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งหลายชุดก็ตาม  จวบจนกระทั่งปี พ.. 2534  สมัยรัฐบาลนายอานันท์  ปันยารชุน  จึงได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชกากรแผ่นดิน  พ.. 2534  แทนประกาศคณะปฏิวัติ  ฉบับที่  218  โดยมีประเด็นสำคัญของการปรับปรุง  ได้แก่
                                ประการแรก  มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้ชัดเจน  เพื่อมิให้มีการซ้ำซ้อนกันระหว่างส่วนราชการ
                                ประการที่สอง  ได้มีการกำหนดบทบัญญัติที่ให้การบริหารงานระดับกระทรวงมีเอกภาพ  โดยระบุให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ  และกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติ  และให้ปลัดกระทรวงมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจำ  กำหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง  และลำดับความสำคัญของแผนการปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐมนตรีกำหนด  รวมทั้งกำกับ  เร่งรัด  ติดตามและประเมินการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวง
                                ประการที่สาม  กำหนดให้มีการมอบอำนาจลดหลั่นลงไปในระดับต่าง ๆ  เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารราชการ

การบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน
                การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยในปัจจุบัน  เป็นไปตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  (... ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พ.. 2534)  ประกอบด้วยการบริหารราชการส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาค  และส่วนท้องถิ่น
1.              การบริหารราชการส่วนกลาง 
รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี  ที่มีอำนาจหน้าที่เข้ามาบริหารประเทศและกำหนดนโยบาย
ในการบริหารประเทศ  จะมีอำนาจและใช้อำนาจเพื่อบริหารและจัดการให้เป้นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้  หน่วยงานซึ่งถือเป็นกลไกของรัฐบาล  จะต้องนำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติ  ก็คือ  กระทรวง  ทบวง  กรม  และการบริหารราชการของส่วนกลาง  บางตำรารวมกันเรียกว่า  เป็นการรวมอำนาจ  (Centralization)
                การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง    กำหนดให้มีส่วนราชการดังนี้
(1)       สำนักนายกรัฐมนตรี
(2)       กระทรวงหรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
(3)       ทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
(4)       กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น  และมีฐานะเป็นกรม  ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัด
สำนักนายกรัฐมนตรี  กระทรวง  หรือทบวง
                สำนักนายกรัฐมนตรี
                ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง  ทบวง  กรม  พ.. 2534  มาตรา  กำหนดไว้ว่า สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี  กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดิน  และราชการอื่นตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี  หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี  หรือราชการอื่น ๆ  ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะ…”
                สำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวง  และยังมีบทบาทเป็นแหล่งประสานการบริหารงานระดับชาติด้วย  นอกจากนี้ยังอาจกล่าวได้ว่า  สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นศูนย์ที่ปรึกษาของรัฐบาลที่จะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจและวางนโยบายต่าง ๆ  ให้ถูกต้องรอบคอบยิ่งขึ้น
                การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหรือทบวง
                ระเบียบราชการของกระทรวง  มีดังนี้
(ก)      สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
(ข)      สำนักงานปลัดกระทรวง
(ค)      กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น

2.              การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในปัจจุบันนั้น  พระราชบัญญัติระเบียบ
บริหารราชการแผ่นดิน  พ.. 2534  บัญญัติไว้ว่า  ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคดังนี้
(1)       จังหวัด
(2)       อำเภอ
        จังหวัด
(1)       ให้รวมท้องที่หลาย ๆ  อำเภอ  ตั้งขึ้นเป็นจังหวัด  มีฐานะเป็นนิติบุคคล
(2)       ในจังหวัดนั้น  ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่งเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจาก
นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล  คณะรัฐมนตรี  กระทรวง  ทบวง  กรม  มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน  และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหารซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด  และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ  และจะให้มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด  หรือทั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ช่วยสั่งและปกิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
                                  ผู้ว่าราชการจังหวัด  รองผู้ว่าราชการจังหวัด  และผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด  สังกัดกระทรวงมหาดไทย
                        (3)  ในจังหวัดหนึ่งนอกจากจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดแล้ว  ให้มีปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด  ซึ่งกระทรวง  ทบวง  กรมต่าง ๆ  ส่งมาประจำ  ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดและมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง  ทบวง  กรม  นั้น  ในจังหวัดนั้น
                        (4)  ในจังหวัดหนึ่งให้มีคณะกรรมการจังหวัดทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการจังหวัดนั้น  และให้ความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดกับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด
                         คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด  เป็นประธาน  รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย  ปลัดจังหวัด  อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด  รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด  หรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด  แล้วแต่กรณี  และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวง  ทบวงต่าง ๆ    เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดกระทรวงหรือทบวงละหนึ่งคน  เป็นกรมการจังหวัดและหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
                          พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พ.. 2534  มาตรา  60  บัญญัติไว้ว่า  ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด”  ดังนี้
                          (1) สำนักงานจังหวัด  มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้น  มีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ  และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
                          (2) ส่วนต่าง ๆ  ซึ่งกระทรวง  ทบวง  กรม  ได้ตั้งขึ้นมีหน้าที่ที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง  ทบวง  กรมนั้น ๆ  มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้น ๆ  เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
                          สำนักงานจังหวัดทำหน้าที่เป็น  คณะทำงาน”  ในงานด้านนโยบายและแผน  ตลอดจนปฏิบัติงานด้านเลขานุการของผู้ว่าราชการจังหวัด  อาจกล่าวได้ว่าสำนักงานจังหวัดเป็นศูนย์ประสานงานหรือศูนย์อำนวยการของจังหวัดนั่นเอง
                          ส่วนต่าง ๆ  ซึ่งกระทรวง  ทบวง  กรมต่าง ๆ  ตั้งขึ้น  ตัวอย่างเช่น  สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด  สำนักงานป่าไม้จังหวัด  เป็นต้น  (ชาญชัย  แสวงศักดิ์ , 2542 : 111-113)
                            อำเภอ
                          อำเภอเป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด  แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด  การตั้ง  ยุบ  เปลี่ยนเขตอำเภอ  ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา  สำหรับการจัดระเบียบราชการของอำเภอที่สำคัญ ๆ  มีดังนี้
                          (1)  ในอำเภอหนึ่งมีนายอำเภอคนหนึ่งเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการในอำเภอและรับผิดชอบงานบริหารราชการของอำเภอ
                                    นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย
                          (2)  ในอำเภอหนึ่งนอกจากจะมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบแล้วให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวง  ทบวง  กรมต่าง ๆ  ส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ  และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง  ทบวง  กรม  นั้นในอำเภอ 
                                (3)   ให้แบ่งส่วนราชการของอำเภอดังนี้
(ก)       สำนักงานอำเภอมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ  มีนาย
อำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและรับผิดชอบ
                                      (ส่วนต่าง ๆ  ซึ่งกระทรวง  ทบวง  กรม  ได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น ๆ  มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง  ทบวง  กรมนั้น ๆ  มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ    เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
                            ตำบลและหมู่บ้าน
                                ตำบล  การจัดตั้งตำบลตาม  พ..ลักษณะปกครองท้องที่  พ.. 2457  ระบุไว้ว่าหลายหมู่บ้านรวมกันราว  20  หมู่บ้าน  ให้จัดตั้งเป็นตำบลหนึ่ง  ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาจัดตั้งตำบลและกำหนดเขตตำบล  แล้วรายงานไปยังกระทรวงมหาดไทย  เพื่อให้ความเห็นชอบก็ออกประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งตำบล
                                การจัดระเบียบปกครองตำบล
(1)       กำนัน
ในตำบลหนึ่ง  มีกำนันคนหนึ่งซึ่งอาจมีอำนาจหน้าที่ปกครองราษฎรที่อยู่ในเขต
ตำบลนั้น  กำนันมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย  แต่ไม่มีฐานะเป็นข้าราชการ  เพราะกำนันมิได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน  หมวดเงินเดือน  แต่ได้รับเงินตอบแทนตำแหน่งกำนัน  อันไม่ถือว่าเป็นเงินเดือน
                                       กำนันเป็นผู้ได้รับเลือกจากราษฎรในตำบลนั้น  โดยเลือกจากผู้ใหญ่บ้านตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน
                                       กำนันมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในตำบล  คดีอาญา  ตรวจตราดูแลและรักษาสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์
(2)       แพทย์ประจำตำบล
ในตำบลหนึ่ง  มีแพทย์ประจำตำบลซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากผู้ที่มี
ความรู้ในวิชาแพทย์
                                       แพทย์ประจำตำบลมีอำนาจหน้าที่ร่วมประชุมกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน  ร่วมมือในการจัดการรักษาความสงบเรียบร้อยในตำบล  และตรวจตราความไข้เจ็บที่เกิดขึ้นแก่ราษฎรในตำบลนั้น
(3)       สารวัตรกำนัน
ในตำบลหนึ่งให้มีสารวัตรสำหรับเป็นผู้ช่วยกำนัน  คน  โดยกำนันเป็นผู้คัด
เลือกด้วยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการจังหวัด
                                                หมู่บ้าน
                                พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ฯ  ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่ว่าบ้านหลายบ้านที่อยู่ในท้องที่หนึ่งซึ่งควรอยู่ในความปกครองอันเดียวกันได้  ให้จัดเป็นหมู่บ้านหนึ่งโดยถือเอาจำนวนราษฎรประมาณ  200 คน  หรือจำนวนบ้านไม่ต่ำกว่า  บ้าน  ถ้าเป็นท้องที่ที่มีราษฎรตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่ห่างไกลกันถึงจำนวนจะน้อย
                                การจัดระเบียบการปกครองหมู่บ้าน
(1)       ผู้ใหญ่บ้าน
ในหมู่บ้านหนึ่ง  ให้มีผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งซึ่งได้รับเลือกโดยราษฎรในหมู่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจหน้าที่ปกครองราษฎรที่อยู่ในเขตหมู่บ้านนั้น  และมี
อำนาจหน้าที่ในทางปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยของราษฎรตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ฯ
(2)       ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
ในหมู่บ้านหนึ่ง  ให้มีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง  หมู่บ้านละ  คน  เว้น
แต่หมู่บ้านใดมีความจำเป็นต้องมีมากกว่า  คน  ให้ขออนุมัติกระทรวงมหาดไทย  ในหมู่บ้านใดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรให้มีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ  ก็ให้มีได้ตามจำนวนที่กระทรวงมหาดไทยเห็นสมควร
(3)       คณะกรรมการหมู่บ้าน 
ในแต่ละหมู่บ้าน  ให้มีคณะกรรมการหมู่บ้าน  ประกอบด้วย  ผู้ใหญ่บ้านเป็น
ประธานโดยตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง  กับผู้ซึ่งราษฎรเลือกตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  มีจำนวนตามที่นายอำเภอจะเห็นสมควร  แต่ไม่น้อยกว่า  คน
                                        คณะกรรมการหมู่บ้านมีหน้าที่เสนอข้อแนะนำและให้คำปรึกษาต่อผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับกิจการที่ผู้ใหญ่บ้านจะต้องปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน
3.              การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
                       การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น  ได้แก่  การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเพือให้ประชาชนมีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ  ที่เป็นสาธารณะของท้องถิ่นด้วยตนเอง  ตามภารกิจหน้าที่ที่ระบุให้ดำเนินการอย่างชัดเจน  มีพื้นที่รับผิดชอบชัดเจน  มีผู้บริหารที่ด้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนหรืออาจจะได้รับความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่น
                      การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น  คือ  การใช้หลักการกระจายอำนาจ  (Decentralization)  ให้กับประชาชนโดยตรง
                      การกระจายอำนาจ  เป็นการให้แก่ท้องถิ่น  ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจะต้องมีความรับผิดชอบต่อการดำเนินการและการตัดสินใจของตนเอง

                       การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันมีอยู่  ระบบ  คือ
                       (ระบบทั่วไปที่ใช้แก่ท้องถิ่นทั่วไป  ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ รูปแบบ  คือ  เทศบาล  องค์การ  บริหารส่วนตำบล  และองค์การบริหารส่วนจังหวัด
                        (ระบบพิเศษที่ใช้เฉพาะท้องถิ่นบางแห่งซึ่งในปัจจุบันมีอยู่  รูปแบบ  คือ  กรุงเทพมหานคร  และเมืองพัทยา 

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับการบริหารราชการขององค์กรปกครองท้องถิ่น
                สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับการบริหารราชการขององค์กรปกครองท้องถิ่นนั้น  ในที่นี้จะกล่าวถึง  ประการ  ได้แก่  ความสัมพันธ์ในเชิงการจัดภารกิจระหว่างรัฐกับการบริหารราชการขององค์กรปกครองท้องถิ่น  และความสัมพันธ์ในเชิงการควบคุมกำกับดูแล
1.              ความสัมพันธ์ในเชิงการจัดภารกิจระหว่างภารกิจของรัฐ  ( ชาญชัย  แสวงศักดิ์, 2539 :
1-2 )  ได้จำแนกภารกิจออกเป็น  ประเภท  คือ
(1)       ภารกิจทางปกครอง
ภารกิจทางปกครองนั้นได้แก่  การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศการ
ป้องกันประเทศ  การต่างประเทศ  การอำนวยความยุติธรรม  ฯลฯ
                                ภารกิจประเภทนี้เป็นภารกิจโดยแท้ของรัฐ  ซึ่งโดยทั่วไปรัฐจะเห็นผู้ดำเนินการเอง
(2)       ภารกิจทางเศรษฐกิจ
ภารกิจทางเศรษฐกิจนั้นได้แก่  การให้บริการสาธารณะทางอุตสาหกรรม  และ
พาณิชยกรรม  เช่น  การขนส่ง  การเดินรถไฟ  การไปรษณีย์โทรเลข  การไฟฟ้า  การประปา ฯลฯ
                                ภารกิจประเภทนี้รัฐอาจเป็นผู้ดำเนินการเองโดยผ่านส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรืออาจมอบให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการแทนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐได้
(3)       ภารกิจทางสังคม
ภารกิจทางสังคมนั้นได้แก่   การให้บริการสาธารณะทางสังคม  เช่น  การให้
บริการการศึกษา  การรักษาพยาบาล  การสาธารณสุข  การกีฬา  การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม  ฯลฯ
                                ภารกิจประเภทนี้รัฐอาจเป็นผู้ดำเนินการเอง  โดยผ่านส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ  หรืออาจมอบให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการแทนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐก็ได้
2.              ภารกิจของท้องถิ่น
ภารกิจของท้องถิ่นเกิดขึ้นจากลักษณะของสภาพชุมชนเอง  โดยภารกิจดังกล่าวนั้น
เป็นเรื่องที่รัฐไม่สามารถเข้าไปสอดส่องดูแลด้โดยทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้งโดยลักษณะของภารกิจก็เป็นเรื่องของความต้องการเฉพาะแต่ละชุมชน  เช่น  การรักษาความสะอาด  การกำจัดขยะมูลฝอย  การให้มีน้ำสะอาด  ตลาด  โรงฆ่าสัตว์  สุสาน  ฌาปนสถาน  ฯลฯ
3.              ความสัมพันธ์ในเชิงควบคุมกำกับดูแล
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองท้องถิ่นอยู่ที่การควบคุมกำกับซึ่งเป็นองค์
ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งของการกระจายอำนาจ  การกระจายอำนาจโดยปราศจากการควบคุมกำกับย่อมทำให้รัฐเดี่ยวไม่สามารถดำรงอยู่ได้
                         การควบคุมกำกับนั้นแบ่งออกได้เป็น  ประเภทใหญ่ ๆ  คือ  การควบคุมกำกับโดยตรงและการควบคุมกำกับโดยอ้อม
(1)       การควบคุมกำกับโดยตรง
การควบคุมกำกับโดยตรงยังแยกออกเป็น  กรณีด้วยกัน  คือ
(ก)      การควบคุมกำกับตัวบุคคลหรือองค์กร
การควบคุมกำกับตัวบุคคลหรือองค์กรเป็นการควบคุมทางสถานภาพทางกฎหมายของคณะบุคคลหรือบุคคลคนเดียวที่อยู่ในรูปของคณะบุคคล  (เช่น  คณะเทศมนตรี  สภาเทศบาล  นายกเทศมนตรีอย่างเช่นกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าผู้บริหารท้องถิ่นผู้ใดปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่  หรือมีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่ง  ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อสั่งให้ผู้บริหารท้องถิ่นอกจากตำแหน่งได้
(ข)      การควบคุมกำกับการกระทำ
การกระทำที่สำคัญขององค์กรปกครองท้องถิ่นที่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุม
กับของรัฐ  ได้แก่  การให้ความเห็นชอบต่องบประมาณขององค์กรปกครองท้องถิ่น  การสั่งเพิกถอนหรือสั่งให้ระงับการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
(2)       การควบคุมกำกับโดยอ้อม
การควบคุมกำกับโดยอ้อมแยกออกเป็น  กรณีด้วยกัน  คือ
(ก)      การให้เงินอุดหนุน
การให้เงินอุดหนุนเป็นมาตรการในการควบคุมกำกับโดยทางอ้อมประการ
หนึ่ง  ทุกปีรัฐจะจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น
(ข)      การใช้สัญญามาตรฐาน
การจัดทำสัญญาต่าง ๆ  ขององค์กรปกครองท้องถิ่นนั้น  ระเบียบกระทรวง
มหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดว่าจะต้องทำตามแบบที่อยู่ในส่วนที่แนบท้ายระเบียบ  และการเปลี่ยนแปลงสัญญาจะกระทำได้ก้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากอัยการจังหวัด
                                        สมคิด  เลิศไพฑูรย์  (2534 : 32-33)  ได้ให้คำอธิบายไว้ว่าการควบคุมกำกับเป็นเรื่องของนิติบุคคล  นิติบุคคล  ผู้มีอำนาจควบคุมกำกับไม่ได้มีอำนาจเหนือองค์กรที่ถูกควบคุมกำกับดังเช่นที่ผู้บังคับบัญชามีเหนือผู้ใต้บังคับบัญชา  โดยหลักแล้วผู้มีอำนาจควบคุมกำกับไม่มีอำนาจที่จะสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือยกเลิกคำสั่งของผู้อยู่ภายใต้การควบคุมกำกับ  เว้นแต่จะมีกฎหมาย(พระราชบัญญัติบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง
                                         เหตุผลที่มีการบัญญัติให้การควบคุมกำกับต่างกับการบังคับบัญชาก็เพราะว่าการกระจายอำนาจให้แก่ส่วนท้องถิ่นนั้นต่างกับการปกครองส่วนภูมิภาคหรือส่วนกลางมาก  หลักเกณฑ์ที่สำคัญของการกระจายอำนาจก็คือการฝึกให้ประชาชนในท้องถิ่นนั้นได้ตัดสินใจด้วยตนเอง  มีการปกครองด้วยตนเอง  การใช้ระบบการบังคับบัญชาเหนือองค์กรกระจายอำนาจจึงเท่ากับทำลายระบบการกระจายอำนาจไปในตัวนั่นเอง  ดังนั้น  จึงต้องจัดความสัมพันธ์ใหม่ในระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น  กิจการใดที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นงานของท้องถิ่น  ท้องถิ่นก็ย่อมจะสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง  การควบคุมกำกับควรจะอยู่ในขอบเขตโดยพิจารณาแต่เพียงว่าท้องถิ่นทำกิจการในขอบอำนาจของตนหรือไม่  ละเมิดกฎหมายหรือไม่  กรณีเช่นนี้มิได้หมายความว่าส่วนกลางจะไม่สามารถควบคุมดุลพินิจของส่วนท้องถิ่นได้  การควบคุมกำกับนอกจากจะสามารถควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางปกครองของท้องถิ่นแล้วยังสามารถควบคุมดุลพินิจของท้องถิ่นได้ด้วย  แต่การควบคุมดุลพินิจจะมีได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเท่านั้น
ความเป็นมาของการปกครองท้องถิ่นไทย
                ความเป็นมาหรืออาจเรียกว่า  พัฒนาการปกครองท้องถิ่นของไทยจัดลำดับขั้นตอนของการพัฒนาการได้เป็นลำดับดังนี้  (เอกสารเผยแพร่  ความรู้ทางการปกครองท้องถิ่น, 2541 : 7-8) 

.. 2440             พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริให้ทดลองจัดตั้ง หน่วยการปกครองแบบใหม่ในระดับท้องถิ่น  เรียกว่า  สุขาภิบาลกรุงเทพการจัดตั้งครั้งนั้นเกิดจากรัชกาลที่  ได้เสด็จประพาสยุโรปและประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษหลายครั้ง  และได้ทรงทอดพระเนตรบทบาทของหน่วยงานท้องถิ่นในการดูแลท้องถิ่นของตนเอง
ในการจัดตั้งสุขาภิบาลเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ  หน้าที่สำคัญของหน่วยปกครองดังกล่าว  คือ การรักษาความสะอาดในชุมชนของตน  การบูรณะและการจัดสร้างสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในชุมชน  เช่น  ถนน  ไฟ  ตามเส้นทางสวนสาธารณะ  สนามกีฬา  ฯลฯ  สุขาภิบาลกรุงเทพฯ  มีลักษณะเป็นการปกครองท้องถิ่นโดยข้าราชการประจำ  ( Local  Government  by Government  Official )
.. 2448             เกิดสุขาภิบาลท่าฉลอม  เมืองสมุทรสาคร
.. 2451             มีการจัดตั้งสุขาภิบาลในหัวเมืองต่าง ๆ  ทั่วประเทศ  สุขาภิบาลเหล่านี้ล้วนมีกรรมการเป็นข้าราชการประจำทั้งสิ้น  และได้เกิดพระราชบัญญัติสุขาภิบาลขึ้น  โดยแบ่งสุขาภิบาลเป็น  ประเภท  คือ  สุขาภิบาลเมือง  มีกรรมการ  11  คน  และสุขาภิบาลตำบล  มีกรรมการ  คน  ทั้งสองประเภทนี้มีองค์กรทำงานชุดเดียว  คือ  คณะกรรมการสุขาภิบาล  ซึ่งทำหน้าที่ทั้งด้านนิติบัญญัติและบริหาร  โดยกรรมการทั้งหมดล้วนเป็นข้าราชการส่วนภูมิภาค

.. 2453-2468 รัชกาลที่  ทรงทดลองจัดตั้งสภาประชาธิปไตยในระดับชาติ  เรียกว่า  ดุสิตธานี”  และสร้างขบวนการลูกเสือ  แม้ว่าสุขาภิบาลจะไม่ถูกยกเลิกแต่เมื่อไม่ได้รับการส่งเสริมจากระดับบน  จึงส่งผลให้สุขาภิบาลอยู่ในสภาพอยู่กับที่  ทำให้จำนวนสุขาภิบาล  คือ 55  แห่งทั่วประเทศไม่เพิ่มขึ้น  และไม่มีการดำเนินการใด ๆ  เพื่อปรับปรุงหรือจัดตั้งการปกครองท้องถิ่นแบบอื่น ๆ  ขึ้นอีก

.. 2448             รัชกาลที่  ทรงตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง  ทำการศึกษาบทเรียนจากต่างประเทศ  เรียกว่า  คณะกรรมการจัดการประชาภิบาล  นำโดยที่ปรึกษาชาวต่างประเทศชื่อ  Richard  D. Craig  ผลการศึกษาพบว่า  ควรจัดตั้งเทศบาลขึ้นมา

.. 2473             ร่างพระราชบัญญัติเทศบาลได้รับการพิจารณาในสภาเสนาบดี  เมื่อวันที่  19  มกราคม  2473  สภาเสนาบดีเห็นชอบในหลักการ  และให้กรมร่างกฎหมายพิจารณาหลักการในร่างกฎหมายฉบับนี้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์  ปีเดียวกัน  แต่ก็ยังไม่มีการนำออกมาบังคับใช้เป็นกฎหมายจนเกิดเหตุการณ์  24  มิถุนายน  2475  สาเหตุที่รัชกาลที่  ทรงเตรียมจัดตั้งเทศบาล  เพราะทรงเห็นว่าประชาชนชาวไทยควรจะได้ฝึกฝนควบคุมกิจการของท้องถิ่นด้วยตนเอง  ก่อนที่พวกเขาจะควบคุมกิจการของรัฐในระหว่างสภาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

.. 2448             รัชกาลที่  ทรงพระราชทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ต่างประเทศว่า  ข้าพเจ้าเชื่อว่าประชาชนควรจะมีสิทธิมีเสียงในกิจการของท้องถิ่น…. ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นการผิดพลาด  ถ้าเราจะมีการปกครองระบอบรัฐสภาก่อนที่ประชาชนจะมีโอกาสเรียนรู้และมีประสบการณ์อย่างดี  เกี่ยวกับการใช้สิทธิเลือกตั้งในกิจการปกครองท้องถิ่น

.. 2448             รัฐบาลของคณะราษฎรมีนโยบายชัดเจนที่จะกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นด้วยการสถาปนาหน่วยการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น  เช่น  ในประเทศตะวันตก  รัฐบาลได้ผ่านพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล  แบบ  คือ  เทศบาลนคร  เทศบาลเมือง  และเทศบาลตำบล  เริ่มต้นที่ยกฐานะสุขาภิบาล  35  แห่ง  ที่มีอยู่ขึ้นเป็นเทศบาลแล้วจัดตั้งเพิ่มเติม  รัฐบาลของคณะราษฎรมุ่งหมายที่จะพัฒนาการปกครองท้องถิ่นเพียงรูปแบบเดียว  คือ  เทศบาล  ขณะนั้นมีตำบลทั่วประเทศ  รวม  4,800  ตำบล  รัฐบาลหวังที่จะยกฐานะทุกตำบลให้เป็นเทศบาล
                                เทศบาลตามกฎหมายในปี  2476  แบ่งออกเป็น  องค์กร  คือ  สภาเทศบาล  และคณะรัฐมนตรี  ฝ่ายแรกทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ  สมาชิกสภาเทศบาล  (..)  มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตเทศบาลนั้น  เทศบาลนครมีสมาชิก  24  คน  เทศบาลเมืองมีสมาชิก  18  คน  และเทศบาลตำบลมีสมาชิก  12  คน
                                ส่วนคณะเทศมนตรีทำหน้าที่ด้านบริหาร  คณะเทศมนตรีประกอบด้วยสมาชิกที่แต่งตั้งมาจากสมาชิกเทศบาล  เทศบาลนครมีนายกเทศมนตรี  คน  เทศมนตรี  คน  ส่วนเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลมีนายกเทศมนตรี  คน  และเทศมนตรี  คน  ทั้งสภาเทศบาลและคณะรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งสมัยละ  ปี

.. 2488             เทศบาลทั่วประเทศมีเพียง  117  แห่ง  เทศบาสลอันดับที่  117  ก่อตั้งในปี  2488  หลังจากนั้นก็ไม่มีการก่อตั้งเทศบาลขึ้นอีก  ทั้งนี้เพราะมีงบประมาณจำกัด  อำนาจจำกัดและกรปกครองท้องถิ่นระบบเทศบาลไม่เหมาะสมกับสังคมที่ประชาชนขาดความรู้และความสนใจในเรื่องการปกครองท้องถิ่น

.. 2495             จอมพล ป.พิบูลสงคราม  ได้เดินทางไปดูงานในต่างประเทศ  และมองเห็นบทบาทของการปกครองท้องถิ่นในประเทศ  ขณะที่มองเห็นว่าหน่วยการปกครองท้องถิ่นของไทยมีน้อยเกินไป  และจำกัดอยู่แต่เพียงเขตชุมชนเมืองสมควรที่จะสถาปนาการปกครองท้องถิ่นในเขตนอกเมือง  จึงตัดสินใจนำการปกครองท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาลมาใช้อีกครั้ง  โดยหวังว่าการจัดตั้งสุขาภิบาลจะเป็นตัวเร่งในการพัฒนาท้องถิ่น  เพื่อยกฐานะท้องถิ่นที่เจริญให้เป็นเทศบาลให้มากขึ้น  จึงมีการจัดตั้งสุขาภิบาลอีกครั้งในปี  พ.. 2495  โดย  พ... สุขาภิบาล พ.. 2495  ได้กำหนดหลักเกณฑ์ของท้องถิ่นที่จะเป็นสุขาภิบาลมีดังนี้  คือ  เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอให้จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลได้เลย  และหากเป็นชุมชนที่มีตลาดการค้าอย่างน้อย  100  ห้อง  มีราษฎรอย่างน้อย  1,500  คน  และพื้นที่ของเขตสุขาภิบาลควรมีขนาด  ถึง  4  ตรารางกิโลเมตร
                                ส่วนกรรมการบริหารสุขาภิบาลประกอบด้วยบุคคลถึง  ประเภท  คือกรรมการโดยตำแหน่ง  กรรมการโดยการแต่งตั้ง  และกรรมการที่ประชาชนเลือกตั้ง  ให้นายอำเภอในท้องที่นั้นเป็นประธานคณะกรรมการสุขาภิบาล  และให้ปลัดอำเภอคนหนึ่งเป็นปลัดสุขาภิบาล

.. 2498             รัฐบาลจอมพล ปได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด  จัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด  (อบจ.)  ดำเนินการปกครองท้องถิ่นนอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล  โดยรัฐบาลยังคงแต่งตั้งข้าราชการประจำไปควบคุมการปกครองท้องถิ่นในระดับจังหวัด
                                อบจประกอบด้วยสภาจังหวัด  ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติกำหนดนโยบายการบริหารและควบคุมฝ่ายบริหาร  สภาจังหวัดประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในการเลือกตั้งของประชาชนในแต่ละจังหวัดเรียกว่า  สมาชิกสภาจังหวัด  (สจ.)  สภาจังหวัดมีสมาชิกระหว่าง  18-36  คน  ขึ้นอยู่กับจำนวนราษฎรในจังหวัดนั้นและอยู่ในวาระ  ปี
                                ส่วนฝ่ายบริหารของ  อบจจะมีหัวหน้าคือ  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด  ได้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด  และยังมีปลัด  อบจซึ่งก็คือ  ปลัดจังหวัด  และข้าราชการประจำคนอื่น ๆ  ที่เข้ามาทำงานใน  อบจ.

.. 2499             รัฐบาลจอมพล ป. ได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล  กำหนดให้ตำบลมีฐานะเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่น  มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล  (อบต.)  ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล  มีรายได้  รายจ่ายของตนเอง  และสามารถดำเนินกิจการส่วนตำบลได้อย่างอิสระ  แต่แล้ว  อบตก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับ  อบจนั่นคือ  แต่งตั้งคนของรัฐได้แก่  กำนันและผู้ใหญ่บ้านเข้าไปควบคุมดูแล  อบต.
                                อบตแบ่งออกเป็น  ส่วน  คือ  สภาตำบล  ประกอบด้วยกำนันและผู้ใหญ่บ้าน  ซึ่งเป็นสมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่ง  มีสมาชิกที่ราษฎรแต่ละหมู่บ้านเลือกตั้ง  หมู่บ้านละ  คน  สภาตำบลทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ  ส่วนคณะกรรมการตำบลให้กำนันในตำบลนั้นเป็นประธานโดยตำแหน่ง  และยังมีแพทย์ประจำตำบลและผู้ใหญ่บ้านเป็นกรรมการ  ครูและผู้ทรงคุณวุฒิที่นายอำเภอแต่งตั้งไม่เกิน  คน  ทั้งหมดอยู่ในวาระ  ปี
.. 2509             รัฐบาลจอมพลถนอม  กิตติขจร  ได้ปรับปรุงองค์การบริหารส่วนตำบลใหม่  โดยยกเลิกองค์การปกครองท้องถิ่นในระดับตำบลด้วยการยุบ  อบตและตั้งคณะกรรมการสภาตำบลขึ้นแทน  โดยคณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วย
-                   กรรมการโดยตำแหน่ง  คือ  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  และแพทย์ประจำตำบล
-                   กรรมการโดยการแต่งตั้ง  คือ  ครู  ซึ่งนายอำเภอแต่งตั้ง
-                   กรรมการโดยการเลือกตั้ง  คือ  ราษฎรจากหมู่บ้านละ  คน
จุดต่างสำคัญระหว่างคณะกรรมการสภาตำบล  กับ  อบต. เดิม  สภาตำบลไม่มีฐานะนิติบุคคลอีกต่อไป  แต่เป็นองค์กรที่ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายและเห็นชอบโครงการพัฒนาตำบล  คณะกรรมการสภาตำบลจึงกลายเป็นรูปลักษณ์หนึ่งของการบริหารงานส่วนภูมิภาค

.. 2515             มีประกาศคณะปฏิวัติ  ฉบับที่  335  รวมเทศบาลกรุงเทพกับเทศบาลกรุงธนบุรี  และองค์การปกครองท้องถิ่นอื่น ๆ  เข้าด้วยกันกลายเป็น  กรุงเทพมหานคร
(กทม.)  ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการแต่งตั้งในระยะเริ่มต้น  ลักษณะองค์การของ  กทมคือ  มีสภา  กทมทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ  มีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งเขตละ  คน  และมีฝ่ายบริหารคือผู้ว่า  กทมทั้งหมดอยู่ในวาระ  ปี

.. 2521             มีการตราพระราชบัญญัติเมืองพัทยา  กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้เมืองพัทยามีฐานะเป็นนิติบุคคล  เป็นองค์การปกครองท้องถิ่นรูปแบบใหม่ที่คล้ายกับระบบผู้จัดการเมืองในสหรัฐอเมริกา  การบริหารเมืองพัทยาแบ่งเป็น  องค์การ  คือ  สภาเมืองพัทยา  และฝ่ายบริหารสภาเมืองพัทยา  มีสมาชิก  ประเภท  คือ  ประเภทเลือกตั้ง
                                ราษฎร  คน  และประเภทแต่งตั้ง  คน  ประธานสภาเมืองพัทยาเรียกว่า 
นายกเมืองพัทยา”  มาจากการเลือกตั้งของสมาชิกสภาฯ  ส่วนฝ่ายบริหารคือ  ปลัดเมืองพัทยา  มาจากการแต่งตั้งโดยสภาเมืองพัทยา

.. 2528             มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครโดยตรงจากประชาชนเป็นครั้ง
แรก
.. 2535-2539  พรรคการเมือง  พรรค  เสนอนโยบายหาเสียงว่าจะกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น 
และมีพรรคการเมือง  พรรค  ที่เสนอนโยบายเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด 
สังคมไทยได้เกิดการตื่นตัวในนโยบายการปรับปรุงการปกครองท้องถิ่นอย่างไม่
เคยมีมาก่อน  และเพื่อเป็นการลดกระแสเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ  รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการสำคัญ  5  ประการ  คือ
1. พิจารณาปรับปรุง  อบจ. ด้วยการให้นายก  อบจ. มาจาก  สจ.  ไม่ให้ผู้ว่าฯ  เป็น
    นายก  อบจ.  อีกต่อไป
2. กระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งสตรีเป็นปลัดอำเภอได้ตั้งแต่ปลายปี  2536  หลังที่
    ข้าราชการสูงของกระทรวงนี้ได้คัดค้านมาตลอด
3. กระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งสตรีเป็นผู้ว่าฯ  คนแรกในเดือนมกราคม  2537 
4. รัฐบาลเสนอร่าง  พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลผ่านสภาใน
    เดือนพฤศจิกายน  2537  และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมีนาคม  2538  เป็นต้นไป
5. กระทรวงมหาดไทย  แต่งตั้งสตรีเป็นนายอำเภอคนแรกในเดือนมกราคม  2539
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  ปี  2537  มีสาระสำคัญ คือ  มีการแบ่งตำบลเป็น  2  ประเภท  คือ
ก.      สภาตำบลที่มีอยู่ในทุกตำบล  ประกอบด้วยสมาชิกคือ  กำนันและผู้ใหญ่บ้าน
ทุกหมู่บ้าน  แพทย์ประจำตำบล  และสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งหมู่บ้านละ  1  คน  ส่วนเลขานุการ  ได้แก่ข้าราชการที่ทำงานในตำบลนั้นแต่งตั้งโดยนายอำเภอ
ข.      สภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมา 
ติดต่อกัน  3  ปี  เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ  1.5  แสนบาท  ก็ให้ตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล  ประเภทนี้มีการแบ่งเป็น  2  ฝ่าย  คือ
       -   ฝ่ายนิติบัญญัติ  เรียกว่า  สภาองค์การบริหารส่วนตำบล  (สภาองค์การฯ)  
            กรรมการได้แก่  กำนันและผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน  แพทย์ประจำตำบลและ
            สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งหมู่บ้านละ  2  คน
       -   ฝ่ายบริหาร  เรียกว่า  คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล  
            ประกอบด้วยกำนันและผู้ใหญ่บ้าน  ไม่เกิน  2  คน  และสมาชิกสภา
            องค์การฯ  ไม่เกิน  4  คน  ซึ่ง  6  คนนี้มาจากการเลือกตั้งของสภาองค์การ
   ผลของการออก  พ.ร.บ.  ดังกล่าวทำให้ตำบลต่าง ๆ  ทั่วประเทศ  มีองค์การ
   บริหารส่วนตำบล  (อบต.)  เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม  2538  รวม  617  แห่งและ
   เพิ่มอีก  ในปัจจุบันทั้งหมด  6,396  แห่ง

พ.ศ. 2540                             มีการออก  พ.ร.บ.  องค์การบริหารส่วนจังหวัด  พ.ศ. 2540  ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง
                                  โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด  อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ  ซึ่งทำให้
                                  องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีความเป็นองค์การปกครองท้องถิ่นระดับจังหวัดที่มี
                                   ความสอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจมากที่สุดรูปหนึ่ง เพราะเปิดโอกาส
                                   ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นของตนเองมากขึ้น

พ.ศ. 2541-2542     1. มีการออก พ.ร.บ.  ยกเลิก  พ.ร.บ.  สุขาภิบาล  พ.ศ. 2495  โดยมีสาระให้ยก 
                                       ฐานะสุขาภิบาลทั้งหมดจำนวน  981  แห่ง  เป็นเทศบาลตำบล
                                   2.  มีการออก  พ.ร.บ.  เปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล  พ.ศ.
                                         2542 มีผลบังคับใช้  25  พฤษภาคม  2542
                                  3.   มีการแก้ไขเพิ่มเติม  พ..สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.
                                        2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) ..  2542 โดยเฉพาะโครงสร้างสมาชิกสภา
                                        อบต. ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และคณะกรรมการมาจากความเห็นชอบ
                                        ของสภา อบต.
4.   มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ... องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2540 โดยการ
      เพิ่ม  อำนาจหน้าที่ อบจ.
5.             มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ... เทศบาล พ.. 2496 และมีการออก พ... เทศบาล(ฉบับที่ 10)  .. 2542  มีผลบังคับใช้เมื่อ  11  มีนาคม  2542 และ  ... เทศบาล  (ฉบับที่ 11)  .. 2543  ให้เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงหลังจากครบวาระ    ของสมาชิกสภาเทศบาล
6.             มีการออก  พ..ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา  2542  โดยให้   สมาชิกสภาเมืองพัทยามาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน  กับให้มีนายกเมืองพัทยามาจากการเลือกตั้ง
..  2543            มีกฎหมายที่กำหนดทิศทางขององค์กรปกครองท้องถิ่น  ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
                                แห่งราชอาณาจักรไทย  ได้แก่
1.             ... กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.. 2542 มีผลบังคับใช้วันที่ 18 พฤศจิกายน 2542
2.             ..ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น  ..  2542  มีผลบังคับใช้วันที่  30  พฤศจิกายน  2542
3.             ..ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น  พ..  2542  มีผลบังคับใช้  27  ตุลาคม  2543
4.             ..ว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.. 2542 มีผลบังคับใช้วันที่ 27 ตุลาคม 2542
..  2545            มีพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น  และผู้บริหารท้องถิ่น   ..2545
                                ..  2546  มีการแก้ไขพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 3) ..
                                2546 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2546 มีการแก้ไขพระราชบัญญัติ
                ตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 5) .. 2546 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 23 ธันวาคม 2546 สาระสำคัญของการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวนี้ เป็นการกำหนดให้ผู้บริหารท้องถิ่น(นายก อบจ. นายก อบต. และนายกเทศมนตรี) มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนในแต่ละท้องถิ่น
เอกสารอ้างอิง
กรมการปกครอง  กระทรวงมหาดไทย.  2541.  เอกสารเผยแพร่ความรู้ทางการปกครองท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์  และกรมการปกครอง  จัดพิมพ์.
โกวิทย์  พวงงาม  2548.  การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ
บริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชน  จำกัด.
โกวิทย์  พวงงาม  และอลงกรณ์  อรรคแสง.  2547.  การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง. กรุงเทพฯ
บริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชน  จำกัด.
ชาญชัย  แสวงศักดิ์.  2539.  วิสัยทัศน์  การเมือง  การปกครอง  และกฎหมายสำนักพิมพ์นิติธรรม.
ชาญชัย  แสวงศักดิ์.  2542.  กฎหมายปกครอง. บริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชน  จำกัด.
ชูวงศ์  ฉายะบุตร.  2539. การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ที่บริษัท พิฆเนศ พริ้นท์ติ้งเซ็นเตอร์  จำกัด.
ประธาน  สุวรรณมงคล  และคณะ.  2537.  การกำหนดอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างส่วน
กลาง  ส่วนภูมิภาค  และส่วนท้องถิ่นรายงานการวิจัยเสนอต่อสถาบันดำรงราชานุภาพ  
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.
สมคิด  เลิศไพฑูรย์.  2534. การควบคุมกำกับเหนือองค์การปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสาร
กฎหมายปกครอง  เล่ม  10  ตอน  1.



ที่มา :    lms.mju.ac.th/courses/183/locker




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น