วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย



 

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotemia)

             เมโสโปเตเมียเป็นชื่อเรียกดินแดนที่อยู่ระหว่างแม่น้ำ 2 สาย ในตะวันออกกลาง คือ แม่น้ำไทกริส (Tigris) และยูเฟรทีส (Euphrates) ปัจจุบันคือดินแดนในประเทศอิรัก

            อารยธรรมเมโสโปเตเมียมีความหมายครอบคลุมความเจริญรุ่งเรืองที่เกิดขึ้นในดินแดน เมโสโปเตเมียและบริเวณรอบๆ ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อประมาณปี 3000 ก่อนคริสต์ศักราช หรือ 5000 ปีมาแล้ว กลุ่มชนที่มีส่วนสร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ได้แก่ พวกสุเมเรียน บาบิโลเนียน แอลซีเรียน แคลเดียน ฮิตไทต์ ฟินีเชียน เปอร์เซีย และฮิบรู ซึ่งได้พลัดเปลี่ยนกันเข้ามาปกครองดินแดนนี้ พวกเขารับความเจริญเดิมที่สืบทอดมาและพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าขึ้นพร้อมๆ กับคิดค้นความเจริญใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย อารยธรรมเมโสโปเตเมียจึงเจริญรุ่งเรืองต่อเนื่อง และเป็นแบบอย่างที่ดินแดนอื่นๆ นำไปใช้สืบต่อมา

1.ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

สภาพภูมิศาสตร์และภูมิปัญญาของกลุ่มชน เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
สภาพภูมิศาสตร์ของดินแดนเมโสโปเตเมีย

           ลักษณะที่ตั้งของดินแดนเมโสโปเตเมียและบริเวณใกล้เคียง มีภูมิอากาศร้อนแห้งแล้งและมีปริมาณน้ำฝนน้อย อย่างไรก็ตาม บริเวณนี้ก็มีเขตที่อุดมสมบูรณ์อยู่บ้างเรียกว่า ดินแดนรูปดวงจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ซึ่งรวมถึงดินแดนเมโสโปเตเมียและบริเวณฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนหรือเขตประเทศซีเรีย เลบานอน ปาเลสไตน์และอิสรเอลในปัจจุบัน ดินแดนเมโสโปเตเมียได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีสและน้ำจากหิมะละลายบนเทือกเขาในเขตอาร์เมเนียทางตอนเหนือ ซึ่งพัดพาโคลนตมมาทับถมบริเวณสองฝั่งแม่น้ำ กลายเป็นปุ๋ยในการเพาะปลูก กลุ่มชนอื่นที่อยู่ใกล้เคียงจึงพยายามขยายอำนาจเข้ามาครอบครองดินแดนแห่งนี้ ขณะเดียวกันผู้ที่อยู่เดิมก็ต้องสร้างความมั่งคงและแข็งแกร่งเพื่อต่อต้านศัตรูที่มารุกรานจึงมีการสร้างกำแพงเมืองและคิดค้นอาวุธยุทโธปกรณ์ในการทำศึกสงคราม เช่น อาวุธ รถม้าศึก ฯลฯ
           อนึ่ง ที่ตั้งของดินแดนเมโสโปเตเมียสามารถติดต่อกับดินแดนอื่นได้สะดวกทั้งทางด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอ่าวเปอร์เซีย จึงมีการติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนความเจริญกับดินแดนอื่นอยู่เสมอ ทำให้เกิดการผสมผสานและสืบทอดอารยธรรม
ภูมิปัญญาของกลุ่มชน
          อารย ธรรมเมโสโปเตเมียเกิดจากภูมิปัญญาของกลุ่มชนที่อาศัยในดินแดนแห่งนี้ การคิดค้นและพัฒนาความเจริญเกิดจากความจำเป็นที่ต้องเอาชนะธรรมชาติเพื่อ ความอยู่รอด การจัดระเบียบในสังคมและความต้องการขยายอำนาจ
            การเอาชนะธรรมชาติ แม้ว่าดินแดนเมโสโปเตเมียจะได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส แต่ก็มีน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ส่วนบริเวณที่ห่างฝั่งแม่น้ำมักแห้งแล้ง ชาวสุเรียนจึงคิดค้นระบบชนประทานเป็นครั้งแรก ประกอบด้วยทำนบป้องกันน้ำท่วม คลองส่งน้ำ และอ่างเก็บน้ำ วิธีนี้ช่วยให้การเพาะปลูกได้ผลดี อนึ่ง ในเขตที่อยู่อาศัยของพวกสุเมเรียนไม่มีวัสดุก่อสร้างที่แข็งแรงคงทน เช่น หินชนิดต่างๆ ชาวสุเมเรียนจึงคิดหาวิธีทำอิฐจากดินแดนและฟาง ซึ่งแม้จะมีน้ำหนักเบากว่าหินแต่ก็มีความทนทาน และใช้อิฐก่อสร้างสถานที่ต่างๆ รวมทั้งกำแพงเมือง นอกจากนี้ยังใช้ดินเหนียวเป็นวัสดุสำคัญในการประดิษฐ์อักษรรูปลิ่มด้วย
            การจัดระเบียบในสังคม เมื่อมีความเจริญเติบโตและมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น การอยู่กันเป็นชุมชนจึงจำเป็นต้องมีระเบียบและกฎเกณฑ์ของสังคม ได้แก่ การแบ่งกลุ่มชนชั้นในสังคมเพื่อกำหนดหน้าที่และสถานะ การจัดเก็บภาษีเพื่อนำรายได้ไปใช้พัฒนาความเจริญให้แก่ชุมชน การออกกฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือในการปกครอง เช่น ประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบีแห่งบาบิโลเนีย ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นกฎหมายแม่บทของโลกตะวันตก
           การขยายอำนาจ ความยิ่งใหญ่ของชนชาติที่ปกครองดินแดนเมโสโปเตเมียส่วนหนึ่งเกิดจากการขยายอำนาจเพื่อรุกรานและครอบครองดินแดนอื่น เช่น พวกแอสซีเรียนสามารถสถาปนาจักรวรรดิแอสซีเรียนที่เข้มแข็งได้ เพราะมีเทคโนโลยีทางการทหารที่ก้าวหน้าและน่าเกรงขาม โดยประดิษฐ์คิดค้นอาวุธสงครามและเครื่องมือต่างๆ รวมทั้งยุทธวิธีในการทำสงคราม เช่น ดาบเหล็ก หอกยาว ธนู เครื่องกระทุ้งสำหรับทำลายกำแพงและประตูเมือง รถศึก เสื้อเกราะ โล่ หมวกเหล็ก ฯลฯ ซึ่งต่อมาถูกนำไปใช้แพร่หลายในทวีปยุโรป

2.การหล่อหลอมอารยธรรมของชนชาติต่างๆในเมโสโปเตเมีย
         อารยธรรม ในดินแดนเมโสโปเตเมียไม่ได้เกิดขึ้นโดยการสร้างสรรค์ของชนชาติใดชาติหนึ่ง โดยเฉพาะดังเช่นอารยธรรมอื่น หากแต่มีชนชาติต่างๆ ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาครอบครองและสร้างความเจริญ แล้วหล่อหลอมรวมเป็นอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

          สุเมเรียน (Sumerian) สุเมเรียนเป็นชื่อเรียกกลุ่มคนที่อพยพเข้ามาอยู่ในเขตซูเมอร์ (Sumer) หรือบริเวณตอนใต้สุดของแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีส ซึ่งติดกับปากอ่าวเปอร์เซียเมื่อประมาณ 5000 ปีมาแล้ว พวกสุเมเรียนได้พัฒนาความเจริญรุ่งเรืองที่ก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยธรรมอียิปต์ เช่น รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่มบนแผ่นดินเหนียวแล้วนำไปเผาไฟ การคำนวณ การพัฒนามาตราชั่ง ตวง วัด การทำปฏิทิน การใช้แร่โลหะ การคิดค้นระบบชลประทานเพื่อส่งเสริมการกสิกรรม และการก่อสร้างสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นที่ประทับของเทพเจ้า ฯลฯ ทำให้นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มเชื่อว่าอารยธรรมโลกเริ่มต้นที่เขตซูเมอร์



   ชาวสุเมเรียนอยู่รวมกันเป็นนครรัฐเล็กๆ หลายแห่ง เช่น เมืองเออร์ (Ur) เมืองอูรุก (Uruk) เมืองคิช (Kish) และเมืองนิปเปอร์ (Nippur) แต่ละแห่งไม่มีกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนคร เพราะพวกสุเมเรียนเชื่อว่าพวกเขามีเทพเจ้าคุ้มครอง จึงมีเพียงพระหรือนักบวชเป็นผู้ทำพิธีบูชาเทพเจ้าและจัดการปกครองในเขตของตน อย่างไรก็ตาม การที่นครรัฐต่างๆ ล้วนเป็นอิสระต่อกันทำให้ไม่สามารถรวมกันเป็นปึกแผ่นได้ ดินแดนของพวกสุเมเรียนจึงถูกรุกรานจากชนกลุ่มอื่น คือพวกแอคคัดและอมอไรต์

               อมอไรท์ (Amorties) พวกอมอไรท์หรือบาบิโลเนียน เป็นชนเผ่าเซมิติกซึ่งมีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง ได้ขยายอิทธิพลในดินแดนเมโสโปเตเมียและสร้างจักรวรรดิบาบิโลนที่เจริญ รุ่งเรืองในช่วงประมาณปี 1800-1600 ก่อนคริสต์ศักราช ผู้นำสำคัญคือกษัติรย์ฮัมมูราบีผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งได้สร้างความเข้มแข็งให้แก่จักรวรรดิบาบิโลน โดยการทำสงครามขยายดินแดนและจัดทำประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบีเพื่อเป็น หลักฐานในการปกครองและจัดระเบียบสังคม นอกจากนี้ชาวบิโลเนียนยังสืบทอดความเจริญต่างๆ ของพวกสุเมเรียนไว้ เช่น ความเชื่อทางศาสนาซึ่งได้แก่การบูชาเทพเจ้า การแบ่งกลุ่มชนชั้นในสังคมเพื่อแบ่งแยกหน้าที่และความสะดวกในการปกครอง การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและการค้าขายกับดินแดนอื่นๆ เช่น อียิปต์และอินเดียซึ่งนำความมั่งคั่งให้แก่จักวรรดิบาบิโลน
            จักรวรรดิบาบิโลนค่อยๆเสื่อมอำนาจลง เมื่อมีชนชาติอื่นขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดนเมโสโปเตเมียและสลายลงไปโดยถูกพวกแอลซีเรียนโจมตี
            ฮิตไทต์ (Hittites) พวกฮิตไทต์เป็นพวกอินโด-ยูโรเปียน ที่อพยพมาจากทางเหนือของทะเลดำเมื่อประมาณปี 2300 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในเขตจักรวรรดิบาบิโลนและเข้าครอบครองดินแดน ซีเรียในปัจจุบันพวกฮิตไทต์สามารถนำเหล็กมาใช้ประดิษฐ์อาวุธแบบต่างๆ และจัดทำประมวลกฎหมายเพื่อใช้ควบคุมสังคม โดยเน้นการใช้ความรุนแรงตอบโต้ผู้ที่กระทำความผิด เช่น ให้จ่ายค่าปรับแทนการลงโทษที่รุงแรง อาณาจักรฮิตไทต์เสื่อมอำนาจลงในราวปี 1200 ก่อนคริสต์ศักราช
          แอลซีเรียน (Assyrians) พวกแอลซีเรียนมีถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของเมโสโปเตเมีย เป็นชนชาตินักรบที่มีความสารถและโหดร้าย จึงเป็นที่คร้ามเกรงของชนชาติอื่น พวกแอลซีเรียนได้ขยายอำนาจครอบครองดินแดนของพวกบาบิโลเนียน ซีเรีย และดินแดนบางส่วนของจักรววรดิอียิปต์ จักรวรรดิแอลซีเรียนมีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงปี 900-612 ก่อนคริสต์ศักราช อนึ่ง การที่แอลซีเรียนเป็นชนชาตินักรบจึงได้มอบอารยธรรมสำคัญให้แก่ชาวโลกคือการ สร้างระบอบปกครองจักวรรดิที่เข้มแข็ง มีการควบคุมดินแดนที่อยู่ใต้การปกครองอย่างใกล้ชิด โดยสร้างถนนเชื่อมติดต่อกับดินแดนเหล่านั้นจำนวนมากเพื่อความสะดวกในการเดิน ทัพและติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ยังมีความก้าวหน้าในเทคโนโลยีทางการทหารและการรบ โดยเฉพาะการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์และการใช้ทหารรับจ้างที่มีประสิทธิภาพสูง อย่างไรก็ตาม แอลซีเรียนมิได้พัฒนาความเจริญด้านอื่นๆ มากนัก ส่วนใหญ่เป็นการสืบทอดความเจริญที่มีอยู่เดิมในดินแดนที่ตนเข้าไปครอบครอง เช่น ความเชื่อทางศาสนา ศิลปกรรม และวรรณกรรม
           ความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิแอสซีเรียนเกิดจากการรุกรานดินแดนของชนชาติอื่น ดังนั้นจึงมีศัตรูมากและถูกศัตรูทำลายในที่สุด
         แคลเดียน (Chaldeans) พวกแคลเดียนได้ร่วมกับชนชาติอื่นทำลายอำนาจของแอลซีเรียนเมื่อปี 612 ก่อนคริสต์ศักราช หลังจากนั้นก็ได้ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ของจักรวรรดิแอสซีเรีย ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของแคลเดียนคือกษัตริย์เนบูคัดเนซซาร์ ซึ่งสถาปนาจักรวรรดิบาบิโลนขึ้นใหม่และรื้อฟื้นความเจริญต่างๆ ในอดีต เช่น การก่อสร้างอาคารที่สวยงามโดยเฉพาะการสร้าง สวนลอยแห่งบาบิโลนซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก การรื้อฟื้นประมวลกฎหมายและวรรณกรรมของชาวบาบิโลเนียนรวมทั้งระบบเศรษฐกิจและการค้า ดังนั้นนักประวัติศาสตร์จึงเรียกจักวรรดิของพวกแคลเดียนว่า จักวรรดิบาบิโลนใหม่อย่างไรก็ตาม พวกแคลเดียนก็ได้สร้างมรดกที่สำคัญคือการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์และโหราศาสตร์จักรวรรดิแคลเดียนมีอำนาจในช่วงสั้นๆ และสิ้นสลายเมื่อปี 534 ก่อนคริสต์ศักราช 

 สวนลอยบาบิโลน ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิรัก



           เปอร์เซีย (Persia) พวกเปอร์เซียเป็นชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนที่อพยพมาจากทางเหนือของเทือกเขาคอเคซัส เมื่อราว 1800 ปีก่อนคริสต์ศักราชและตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนเปอร์เซียหรือประเทศอิหร่อน ปัจจุบัน ต่อมาได้ร่วมมือกับพวกแคลเดียนโค่นล้มจักรวรรดิแอลซีเรียนและสถาปนา จักรวรรดิเปอร์เซียเมื่อประมาณ 550 ปีก่อนคริสต์ซักราช จากนั้นได้ขยายอำนาจเข้ายึดตครองจักรวรรดิบาบิโลนของพวกแคลเดียน ดินแดนเมโสโปเตเมีย เอเชียไมเนอร์และอียิปต์ ในสมัยพระเจ้าดาริอุสหรือเดอไรอัสมหาราช (Darius the Great) เปอร์เซียได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในดินแดนตะวันออกถึงลุ่มแม่น้ำสินธุของ อินเดียและทางตะวันตกถึงตอนใต้ของยุโรป แม้ว่าเปอร์เซียไม่ประสบความสำเร็จในการทำสงครามเพื่อยึดครองนครรัฐกรีก แต่จักวรรดิเปอร์เซียในขณะนั้นก็มีอำนาจยิ่งใหญ่ที่สุด

             เปอร์เซียเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่ครอบคลุมดินแดนของชนชาติต่างๆ จำนวนมาก จึงต้องจัดการปกครองให้มีประสิทธิภาพ ผู้ปกครองใช้หลักความยุติธรรมในการจัดเก็บภาษีและการศาล รวมทั้งการกระจายอำนาจการปกครองให้แก่ท้องถิ่นและดินแดนต่างๆ โดยรับวิธีควบคุมอำนาจปกครองตามแบบพวกแอสซีเรียน ซึ่งได้แก่ การสร้างถนนเชื่อมดินแดนต่างๆ เพื่อรองรับการเดินทัพ การสื่อสาร และไปรษณีย์ ถนนสายสำคัญ ได้แก่ เส้นทางหลวงเชื่อมเมืองซาร์ดิส (Sardis) ในเอเชยไมเนอร์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกี) และนครซูซา (Susa) ซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซีย ถนนสายนี้ไม่เพียงแต่มีความสำคัญด้านยุทธศาสตร์ หากยังมีความสำคัญต่อการค้าระหว่างดินแดนต่างๆ ภายในจักรวรรดิ และเป็นเส้นทางสำคัญในการติดต่อระหว่างตะวันออกและตะวันตก

            พวกเปอร์เซียรับความเจริญรุ่งเรืองจากดินแดนต่างๆ โดยเฉพาะจากอียิปต์และเมโสโปเตเมีย แล้วหล่อหลอมเป็นวัฒนธรรมของตน เช่น การประดิษฐ์ตัวอักษร การใช้ระบบเงินตรา การประยุกต์รูปแบบสถาปัตยกรรม ฯลฯ อย่างไรก็ตาม พวกเปอร์เซียก็มีอารยธรรมที่โดดเด่น คือ มีศาสนาของตนเอง ได้แก่ ศาสนาโซโรแอสเตอร์ (Zoroaster) ซึ่งสั่งสอนให้มนุษย์ทำความดีเพื่อมีชีวิตที่ดีในอนาคตและละเว้นความชั่วโดยเฉพาะการกล่าวเท็จ หลักความดีความชั่วของศาสนาโซโรแอสเตอร์มีอิทธิพลต่อแนวคิดและคำสอนของศาสนายูดาย (Judaism) ของชาวยิว และศาสนาคริสต์ซึ่งถือกำเนิดขึ้นหลังจากนั้นจักรวรรดิปอร์เซียล่มสลาย เมื่อถูกพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนียยกทัพเข้ายึดครองเมื่อปี 331 ก่อนคริสต์ศักราช

              ฟีนิเชียน (Phoenicians) ระหว่างปี 1000-700 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกฟีนิเชียนอาศัยอยู่ในดินแดนฟินิเชียซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศเลบานอนปัจจุบัน และมีการปกครองแบบนครรัฐ ลักษณะที่ตั้งมีเทือกเขาสลับซับซ้อนกั้นระหว่างที่ราบแคบๆ ซึ่งขนานกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับดินแดนอื่นๆ ทำให้พวกฟีนิเชียนไม่สามารถขยายดินแดนของตนออกไปได้ จึงดำรงชีวิตด้วยการเดินเรือและค้าขายทางทะเล

              นอกจากมีชื่อเสียงในด้านการค้าแล้ว ชาวฟีนิเชียนยังมีชื่อเสียงในด้านอุตสาหกรรมต่อเรือซึ่งทำจากไม้ซีดาร์ที่มี อยู่มากบนเทือกเขาในเลบานอนและการทำอุตสาหกรรมเครื่องใช้จากแร่โลหะต่างๆ เช่น ทองคำ ทองแดง ทองเหลือง แร่เงิน และเครื่องแก้ว นอกจากนี้ยังริเริ่มการทอผ้าขนสัตว์และย้อมผ้า รวมทั้งได้จับจองอาณานิคมในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจำนวนมาก เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าของตน เช่น เกาะซิซีลี ซาร์ดิเนีย และมอลตา อนึ่ง ชาวฟีนิเชียนจำเป็นต้องใช้เอกสารและหลักฐานในการติดต่อค้าขายจึงได้พัฒนาตัว อักษรขึ้นจากโบราณของอียิปต์จำนวนรวม 22 ตัว อักษรฟีนิเชียนเป็นมรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของโลกตะวันตก เนื่องจากชาวกรีกและโรมันได้นำไปใช้และสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน

           ฮิบรู (Hebrews) ชาวฮิบรูหรือชาวยิว เป็นชนเผ่าเซมิติกที่เร่ร่อนอยู่ในดินแดนต่างๆ เคยอาศัยอยู่ในเขตซูเมอร์ก่อนที่จะอพยพเข้าไปอยู่ดินแดนคานาอัน (Canaan) หรือปาเลสไตน์ (Palestine) ในปัจจุบัน ชาว                                     ฮิบรูเป็นชนชาติที่เฉลียวฉลาดและบันทึกเรื่องราวของพวกตนในคัมภีร์ศาสนา (Old Testament) ทำให้มีข้อมูลเกี่ยวกับบรรพบุรุษของชาวยิวอย่างละเอียด บันทึกชาวฮิบรูกล่าวว่า เดิมบรรพบุรุษเคยอยู่ทางตอนเหนือของเมโสโปเตเมียต่อมาได้ตกเป็นทาสของอียิปต์ เมื่ออียิปต์เสื่อมอำนาจ ชาวฮิบรูจึงพ้นจากความเป็นทาสโดยผู้นำคือโมเสส (Moses) ได้นำชาวฮิบรูเดินทางเร่ร่อนเพื่อหาที่ตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน ในที่สุดมาถึงดินแดนคานาอัน หรือภายหลังเรียกว่า ปาเลสไตน์และสร้างอาณาจักรอิสราเอล มีกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่คือ กษัตริย์เดวิด (David) ซึ่งสถาปนานครเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวง ต่อมาอาณาจักรอิสราเอล ได้แตกแยกเป็น 2 ส่วน หลักจากกษัตริย์โซโลมอนสิ้นพระชนม์ เมื่อปี 922 ก่อนคริสต์ศักราช และถูกชนนชาติที่เข้มแข็งกว่าคือแอลซีเรียนและแคลเดียนเข้ายึดครอง ชาวยิวส่วนใหญ่ถูฏจับไปเป็นทาสในดินแดนอื่น แต่ได้กลับคืนดินแดนปาเลสไตน์อีกครั้งเมื่อจักรวรรดิเปอร์เซียเข้ามาครอบครองดินแดนนี้ อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้ละทิ้งดินแดนของตนไปในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 หลังจากพวกโรมันเข้ายึดครองปาเลสไตน์และทำลายเมืองของชาวยิว

             ชาวยิวมีกฎหมาย วรรณกรรม และศานาของตนเอง ประมวลกฎหมายเรียกว่า กฎหมายโมเสสวรรณกรรมที่สำคัญคือคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งประมวลกฎหมายเรื่องราวตั้งแต่การกำเนิดของโลกมนุษย์ จนกระทั่งถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชนชาติยิว คัมภีร์ไบเบิลฉบับบนี้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญและเป็นภาคพระ คัมภีร์เก่า (Old Testament) ในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ด้วย

          
              ความเจริญรุ่งเรืองที่ชนชาติต่างๆ ในดินแดนเมโสโปเตเมียคิดค้น หล่อหลอม และสืบทอดต่อกันมา ส่วนใหญ่กลายเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันตกที่ชาวยุโรปรับและพัฒนาต่อเนื่องเป็นอารยธรรมของมนุษยชาติในปัจจุบัน

 
            ที่มา : http://metricsyst.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น