พุทธประวัติ
ชาติภูมิ
ทางภาคเหนือสุดของชมพูทวีป (อินเดียโบราณ)
มีรัฐที่อุดมสมบูรณ์รัฐหนึ่งชื่อ"สักกะ"หรือ"สักกชนบท"ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำโรหิณี
ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในประเทศเนปาล กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเมืองหลวงของรัฐนี้
กษัตริย์ศากย วงศ์ทรงปกครองรัฐนี้สืบต่อกันมาโดยลำดับ จนถึงรัชสมัยของพระเจ้าสีหนุ
ซึ่งมีพระนางกัญจนาเป็นพระอัคร มเหสี
ต่อมาพระเจ้าสีหนุได้ทรงจัดให้พระราชโอรสองค์ใหญ่พระนามว่า สุทโธทนะ
ได้อภิเษกสมรสกับพระ นางมหามายา พระราชธิดาของพระเจ้าอัญชนะ
และพระนางยโสธราอัครมเหสีแห่งกรุงเทวะทหะ โดยทรง ประกอบพระราชพิธีขึ้น ณ
อโศกอุทยาน กรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระเจ้าสีหนุสวรรคตแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะก็ได้
เสวยราชสมบัติสืบพระวงศ์ต่อมา
ประสูติ
เมื่อก่อนพุทธศักราช ๘๑ ปี พระนางมหามายา
อัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระสุบินว่า
ลูกช้างเผือกเชือกหนึ่ง เข้าสู่พระครรภ์ของพระนาง หลังจากนั้นไม่นานนัก
พระนางก็ทรงพระ ครรภ์ เมื่อพระครรภ์แก่จวนครบทศมาสแล้ว
พระนางมหามายาทรงมีพระประสงค์เสด็จกลับไปประทับที่กรุง ทวะทหะ ชั่วคราว
เพื่อประสูติพระโอรสในราชตระกูลของพระนางตามประเพณี ถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (ขึ้น
๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี) พระนางก็เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยราชบริวารแต่เวลาเช้า
พอใกล้
เที่ยงวันก็เสด็จถึงลุมพินีวันราชอุทยานอันตั้งอยู่กึ่งทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวะทหะจึงเสด็จแวะเข้าไปพักผ่อนที่ใต้ต้นสาละ
ทันทีนั้นพระนางก็ประชวรพระครรภ์และประสูติพระโอรส (พระพุทธเจ้า)
ความทราบถึงพระเจ้าสุทโธทนะ
ก็โปรดให้รับพระนางพร้อมด้วยพระโอรสเสด็จกลับสู่กรุงกบิลพัสดุ์
หลังจากประสูติแล้ว๕วันได้มีการประกอบพระราชพิธีมงคลเฉลิมพระนามพระราชโอรสว่า"สิทธัตถกุมาร"ในพระราชพิธีนี้ได้เชิญพราหมณ์
๑๐๘ คน เข้ามาฉันอาหารในพระราชวัง และให้มีการทำนายพระลักษณะของ
เจ้าชายสิทธัตถะตามธรรมเนียมด้วย คณะพราหมณ์เหล่านั้น
เมื่อตรวจดูพระลักษณะถี่ถ้วนแล้ว ส่วนมากได้ร่วม กันทำนายพระลักษณะว่ามีคติเป็น ๒
อย่าง คือ
ถ้าเจ้าชายสิทธัตถะนี้อยู่ครองราชสมบัติก็จักได้เป็นจักรพรรดิ แต่
ถ้าเสด็จออกทรงผนวช ก็จักได้เป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาเอกของโลก
แต่มีพราหมณ์หนุ่มคนหนึ่งในคณะพราหมณ์เหล่านั้นชื่อ"โกณฑัญญะ"ได้ทำนายพระลักษณะยืนยันว่ามีคติเพียงอย่างเดียว
โดยทำนายว่า เจ้าชาย สิทธัตถะนี้จะต้องเสด็จออกผนวช
และจะต้องได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน
ครั้นถึงวันที่๗นับแต่วันประสูติพระนางมหามายาพระราชชนนีก็เสด็จสวรรคตเจ้าชายสิทธัตถะจึงอยู่ในความอภิบาลของพระนางปชาบดีโคตมี
ผู้เป็นพระมาตุจฉา(พระน้านาง)ของ
พระองค์ ซึ่งได้ทรงเป็นพระมเหสี
ของพระเจ้าสุทโธทนะสืบต่อมา ทรงศึกษาและอภิเษกสมรส
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเจริญวัยแล้ว ก็ทรงได้รับการศึกษาศิลปวิทยาการต่างๆ
ตามแบบกษัตริย์ในสมัยนั้น
โดยพระราชบิดาได้ทรงมอบให้ครูวิศวามิตรผู้มีชื่อเสียงที่สุดในเวลานั้นเป็นผู้รับภาระถวายการศึกษาอบรมเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระปรีชาเฉลียวฉลาดยิ่ง
สามารถจบการศึกษาอบรมแต่เมื่อมี พระชนม์เพียง ๑๕ พรรษา นำความปรีดาปราโมทย์มาสู่พระราชบิดา
พระประยูรญาติ พระอาจารย์เป็นอย่าง ยิ่ง เมื่อพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา
ได้ทรงอภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงพิมพา หรือยโสธรา พระราชธิดาพระเจ้าสุป พุทธะ
กษัตริย์โกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ พระราชพิธีได้จัดขึ้น ณ กรุงกบิลพัสดุ์
ท่ามกลางพระประยูรญาติทั้ง ๒ ฝ่าย ภายหลังจากการอภิเษกสมรส
ได้ทรงดำรงพระยศเป็นรัชทายาท แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ พระราชบิดาทรง
สร้างปราสาทใหม่ให้ประทับ ๓ หลัง เพื่อทรงสำราญตลอด ๓
ฤดูกาลทรงเพียบพร้อมด้วยโลกิยสุขอยู่จนพระ ชนมายุได้ ๒๙ พรรษา
และพระนางพิมพาพระวรชายาก็ทรงพระครรภ์ในปีนั้น ทรงผนวช ในปีที่ทรงพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษานั้นเอง
เจ้าชายสิทธัตถะผู้เป็นรัชทายาทได้เสด็จประพาส พระราชอุทยาน ๔ ครั้ง
ได้ทอดพระเนตรเห็น คนแก่ คนเจ็บไข้ คนตาย และสมณะ ตามลำดับ ในการเสด็จประ พาส ๓
ครั้ง พระองค์ทรงสลดพระทัยในความทุกข์ยาก และความไม่เที่ยงแท้ ความผันแปรของชีวิต
ในครั้งที่ ๔ อัน เ
ป็นครั้งสุดท้ายนั้นเอง
พระองค์ทรงทราบว่าพระนางพิมพา พระวรชายาของพระองค์ได้ประสูติพระ โอรส
และทรงตัดสินพระทัยเสด็จออกทรงผนวชในคืนวันนั้น โดยทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะ
เป็นผู้ตามเสด็จ บ่ายพระพักตร์สู่แคว้นมคธตอนใต้พอเวลาใกล้รุ่งก็เสด็จถึงแม่น้ำอโนมาเข้าสู่ฝั่งของแคว้นมัลละพรมแดนแห่ง
สักกะกับแคว้นมัลละเสด็จข้ามแม่น้ำอโนมาเข้าสู่ฝั่งของแคว้นมัลละประทับยับยั้งอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำนั้น
ทรงตัดพระ เมาลีของพระองค์ด้วยพระขรรค์ แล้วทรงอธิฐานเพศบรรพชิตทรงผนวชเป็นสมณะ ณ
ฝั่งแม่น้ำนั้น แล้วตรัส สั่งนายฉันนะ ให้นำม้ากัณฐกะ และเครื่องทรงกลับกบิลพัสดุ์
นับแต่รุ่งอรุณวันนั้นเป็นต้นมา พระสิทธัตถะก็เสด็จ แรมอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน
แคว้นมัลละ แต่พระองค์เดียวชั่วเวลาราว ๗ วัน
ทรงแสวงหาโมกขธรรมและทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
ต่อมาพระสิทธัตถะได้เสด็จออกจากอนุปิยอัมพวัน
แคว้น มัลละ แล้วไปยังที่ต่างๆ จนถึงเขต
กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อแสวงหาโมกขธรรม
(ความพ้นทุกข์) ครั้งเสด็จ เข้าไปอบรมศึกษาใน สำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร
และสำนักอุทกดาบสรามบุตร ทรงเห็นว่าลัทธิของ ๒ สำ นักนั้นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ใด
จึงทรงอำลาจากสำนักดาบสทั้งสองนั้น เสด็จจารึกแสวงหาโมกขธรรมต่อไปจนถึง
ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม อันมีแม่น้ำเนรัญชราไหลผ่าน ได้ประทับอยู่ในป่า ณ ตำบลนี้
ทรงเริ่มบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยประการต่างๆ อย่างเคร่งครัด
แต่ก็ไม่ทรงพบทางพ้นทุกข์ได้ ในเวลานั้น พวกปัญจวัคคีย์ คือ ภิกษุ ๕ รูป อันได้แก่
โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ
มีความเลื่อมใสในพระสิทธัตถะด้วยเชื่อว่าพระองค์ จนได้สำเร็จ
เป็นพระพุทธเจ้าจึงได้พากันมาเฝ้าปฏิบัติพระองค์ด้วยความเคารพ
ตรัสรู้
นับแต่ปีที่ทรงผนวชถึงปีที่ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างเคร่งครัดนั้น
เป็นเวลา ๖ ปี แล้ว พระสิทธัตถะ ทรงแน่พระทัยว่า
การบำเพ็ญทุกรกิริยานั้นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์แน่ และประกอบกับเวลานั้น
ท้าวสักกะได้เสด็จมา เฝ้า ทรงดีดพิณ ๓ สายถวายคือ สายหนึ่งตึงเกินไปมักขาด
สายหนึ่งหย่อนเกินไปเสียงไม่เพราะ สายหนึ่งพอดี
เสียงไพเราะยิ่งทำให้พระสิทธัตถะแน่พระทัยยิ่งขึ้นว่า การทำความเพียรเคร่งครัดเกินไปนั้นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์
อย่างแน่แท้ พระองค์จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรงหันมาบำเพ็ญเพียรทางใจอันได้แก่
สมถะ (ความสงบ) วิปัสสนา (ปัญญา) โดยทรงเริ่มเสวยพระกระยาหาร ตามปกติ
พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เห็นดังนั้น จึงคลาย ศรัทธาเลิกเฝ้าปฏิบัติ
แล้วพากันไปอยู่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี
เป็นเหตุให้พระองค์ประทับอยู่แต่พระองค์เดียว ทำให้ได้รับความวิเวกยิ่งขึ้น
ทรงเริ่มบำเพ็ญทางใจ ณ ภายใต้ต้นหว้าใหญ่ต้นหนึ่ง
ครั้นอยู่ต่อมาถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
เวลาเช้า พระองค์เสด็จไปประทับที่โคนต้นไทรต้นหนึ่ง ใกล้แม่น้ำเนรัญ ชรา
เวลานั้นนางสุชาดา ธิดาสาวของกฎุมพีนายบ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลา
ได้จัดข้าวมธุปายาสใส่ถาดทองคำ นำไปบวงสรวงเทวดาที่ต้นไทรนั้นตามลัทธินิยมของตน
ครั้นเห็นพระสิทธัตถะประทับนั่งอยู่ก็เข้าใจว่าเป็นเทวดาจึงน้อมถวายข้าวมธุปายาสพร้อมทั้งถาดทองคำ
แล้วหลีกไป พระสิทธัตถะทรงรับข้าวมธุปายาสแล้วเสด็จไป ยังแม่น้ำเนรัญชรา
ทรงสรงสนานพระวรกาย แล้วเสวยข้าวมธุปายาสแล้วทรงลอยถาดลงในกระแสแม่น้ำเนรัญ ชรา
ครั้นแล้วแล้วจึงเสด็จไปประทับในดงไม้สาละใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรานั้น ครั้นย่างเข้ายามเย็น
พระสิทธัตถะก็เสด็จจากป่าสาละไปยังต้นอัสสัตถพฤกษ์(มหาโพธิ)ต้นหนึ่ง
ซึ่งอยู่ริมฝั่ง ที่โค้งแม่น้ำเนรัญชราฝั่งตะวันตก
ระหว่างทางทรงรับฟ่อนหญ้าคาที่คน
หาบหญ้าขายชื่อ โสตถิยะน้อมถวาย ๘ ฟ่อน
ทรงนำไปปูลาดเป็นบัลลังก์ที่ควงไม้มหาโพธินั้น แล้วประทับลงบนบัลลังก์นั้น ผินพระพักต์ไปทางทิศตะ
วันออก ทางแม่น้ำเนรัญชรา ทรงบำเพ็ญเพียรทางใจ คือ
ทรงเจริญสมถะและวิปัสสนาได้บรรลุพระอนุตรสัมมา สัมโพธิญาณ
สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในยามสุดท้ายแห่งวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ครั้นตรัสรู้แล้ว
พระพุทธองค์ได้ประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ ๗ สัปดาห์ ในสถานที่ทั้ง๗ แห่ง
แห่งละสัปดาห์คือ ที่ต้นมหาโพธิ ที่อนิมิสเจดีย์ ที่รัตนจงกรมเจดีย์
ที่รัตนฆรเจดีย์ ที่ต้นอชปาลนิโครธ ที่ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) และ ที่ต้นราชาตนะ
(ต้นเกด) ตามลำดับ ในสัปดาห์ที่ ๕
ระหว่างเวลาที่ประทับอยู่ที่ต้นอชาปาลนิโครธนั้น พระพุทธองค์ทรงแก้ปัญหาพราหมณ์ผู้
หนึ่งซึ่งทูลถามปัญหาเรื่องความเป็นพราหมณ์ และมีพระธิดาพญามารทั้ง ๓ คือ นางตัญหา
นางราคา และนางจรตี ได้มาทำการยั่วยวนพระองค์ให้ทรงหันไปลุ่มหลงในทางโลก
แต่ไม่เป็นผล ในสัปดาห์ที่ ๖ ระหว่างแวะประ ทับอยู่ที่ใต้ต้นมุจลินท์นั้น
มีฝนตกตลอดสัปดาห์ พญานาคชื่อ มุจลินท์ ได้มาถวายอารักขา
ป้องกันพระองค์มิให้เปียกฝน และมิให้กระทบลมหนาว ในสัปดาห์ที่ ๗
ระหว่างเวลาที่ประทับอยู่ใต้ต้นราชายตนะนั้น มีพ่อค้า ๒ คน
คือ ตะปุสสะ กับ ภัลลิกะ ได้ถวายข้าวสัตถุก้อนและสัตถุผงแก่พระพุทธองค์
และมีความเลื่อมใสได้ประกาศตน เป็นอุบาสก ถือพระพุทธกับพระธรรมเป็นสรณะ
นับเป็นอุบาสกคู่แรกในพระพุทธศาสนา ทรงแสดงปฐมเทศนาและได้เป็นปฐมสาวกครั้นต่อมาถึงตอนเย็นวันขึ้น๑๕ค่ำเดือนอาสาฬหะ(เดือน๘)
พระพุทธองค์ได้เสด็จจากตำบลอุรุเวลาเสนานิคมถึงป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน
แขวงเมืองพาราณสี ในวันรุ่งขึ้นอัน เป็นวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะได้ทรงแสดงพระปฐมเทศนา
คือ พระธรรมจักรกับกัปปวัตนะสูตร โปรดภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕
อันเป็นเทศนากัณฑ์แรกในพระพุทธศาสนา เมื่อจบเทศนาแล้ว ท่านโกณฑัญญะ (อัญญาโกณฑัญญะ)
ได้ธรรมจักษุ คือได้ดวงตาเห็นธรรม อันได้แก่การได้บรรลุพระโสดาปัตติผล
และได้ขออุปสัมปทา นับเป็นพระ สงฆ์สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา
ต่อแต่นั้นมาก็ทรงสั่งสอนท่านทั้ง ๔ จนได้บรรลุโสดาปัตติผล และได้อุป
สมบทเป็นพระสงฆ์ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาทุกองค์ ต่อมาถึงวันแรม ๘ ค่ำ เดือนสาวนะ
(เดือน ๙) พระพุทธองค์
ได้ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตรโปรดท่านทั้ง ๕
ในวันนั้น จึงนับเป็นพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก รวมทั้งพระพุทธ องค์ด้วยเป็น ๖ องค์
ทรงโปรดชาวเมืองพาราณสี
ต่อมา
เมื่อประทับจำพรรษาอยู่ที่ป่าอิสิปนะมฤคทายวัน อันเป็นพรรษาแรกนั้น เอง
พระพุทธองค์ก็ได้ทรงแสดงอนุปทาพิกถาโปรดกุลบุตรชื่อ "ยสะ"
ซึ่งเป็นบุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีให้ ได้บรรลุ พระอรหันตตผล สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ได้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
นับเป็นพระอรหันต์องค์ที่๗ในโลกทั้งได้ทรงแสดงโปรดเศรษฐีบิดาพระยสะให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้ประกาศตนเป็นอุบาสก
และนับเป็นอุบาสกคนแรกในพระพุทธศาสนาที่ถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
ทั้งได้โปรดมารดาและภรรยาของ ท่านยสะให้เลื่อมใส ได้ประกาศตนเป็นอุบาสิกา
ซึ่งเป็นอุบาสิกาคู่แรกในพระพุทธศาสนาที่ถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ต่อแต่นั้นมา ๒-๓
วัน พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี ผู้เป็นสหายของ
ท่านยสะทั้ง ๔ คน ชื่อ วิมละ สุพาหุ ปณณชิ และควัมปติ ให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ได้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็นพระอรหันต์ในโลกจำนวน ๑๑ องค์
ต่อมาอีกไม่นานนัก สหายของท่านยสะซึ่งเป็นชาวชนบทจำนวน ๕๐ คนก็ได้บวชตามยสะพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้อุปสมทบด้วย
เอหิภิกขุอุปสัมปทาทั่วทุกองค์นับจำนวนพระอรหันต์ในโลกเพิ่มขึ้นเป็น ๖๑ องค์
ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระพุทธศาสนา เมื่อมีพระอรหันต์สาวกจำนวนมากถึง ๖๐
องค์ และเวลานั้นก็ ได้สิ้น ฤดูฝนแล้ว พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นโอกาสดี
สมควรส่งพระสาวกไปประกาศพระพุทธศาสนาแล้วจึง มีพระพุทธดำรัสสั่งพระอรหันต์สาวก
ให้ไปจาริกในที่ต่างๆ เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน โดยให้แยกย้ายกันไป
มิให้ไปรวมกัน ให้ไปแสดงธรรมประกาศพระพุทธศาสนาให้แพร่หลาย ส่วนพระองค์เองก็จะเสด็จไปยังตำ
บลอุรุเวลา กรุงราชคฤห์ เพื่อประกาศพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน ทรงโปรดภัททวัคคีย์และชฎิล
เมื่อทรงส่งพระสาวกออกจาริกไปแล้ว พระพุทธองค์จึงเสด็จไปยัง
ตำบลอุรุเวลาแต่เพียงพระองค์เดียว
ระหว่างทางได้เสด็จแวะเข้าไปพักผ่อนที่ไร่ฝ้ายแห่งหนึ่ง ณ ที่นี้ พระองค์ได้ทรงพบ
ชายหนุ่มจำนวน ๓๐ คน เป็นสหายกันเรียกว่า ภัททวัคคีย์
ซึ่งได้พากันออกติดตามหาภรรยาของหนุ่มคนหนึ่งที่ ได้ขโมยของหนีไป
พระพุทธองค์จึงตรัส
เตือนว่า จะตามหาหญิงหรือตนเองดี
แล้วทรงแสดงธรรมโปรดให้บรรลุมรรคผล ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา (คือ การบวชให้ด้วยพระองค์เอง
ด้วยการตรัสว่า จงมาเป็นภิกษุเถิด) แล้วทรงส่งไปประกาศพระพุทธศาสนาทั้ง ๓๐ องค์
หลังจากที่ทรงโปรดพวกภัททวัคคีย์แล้ว
ตอนบ่ายวันนั้นพระพุทธองค์ก็เสด็จจากไร่ฝ้าย พอเวลาพลบค่ำก็
เสด็จถึงตำบลอุรุเวลาริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ณ ตำบลนี้พระองค์ได้ทรงโปรดชฎิล ๓
พี่น้องที่ตั้งอาศรมบำเพ็ญพรตอยู่ที่ตำบลนี้ คือ ชฎิลผู้พี่ใหญ่ ชื่อ อุรุเวลกัสสป
น้องคนกลางชื่อ นทีกัสสป น้องคนเล็กชื่อ คยากัสสป คุมบริวาร (รวมทั้งตัวเองด้วย)
คนละ ๕๐๐ , ๓๐๐ และ ๒๐๐
โดยตั้งอาศรมอยู่ตอนเหนือแม่น้ำเนรัญชราที่คุ้งแม่น้ำ ตอนกลาง และที่คุ้งตอนใต้สุดโดยลำดับ
โดยทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรโปรดชฎิลเหล่านั้นให้ได้บรรลุมรรค ผล
สำเร็จในพระอรหันต์ทั้ง ๑,๐๐๐ รูป
ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาทั่วทุกรูป ทรงโปรดพระเจ้าพิมพิสารและทรงได้พระอัครสาวก
เมื่อทรงโปรดชฎิล ๓ พี่น้อง พร้อมทั้งบริวารและทรง พักอยู่ที่ตำบลคยาสีสะพอสมควรแล้ว
พระพุทธองค์ได้ทรงพาพระอรหันต์ผู้เป็นชฎิลจำนวน ๑,๐๐๐
รูปนั้นเสด็จ ไปยังกรุงราชคฤห์ นครหลวงแห่งแคว้นมคธ
เสด็จเข้าประทับอยู่ที่สวนลัฏฐิวัน ใกล้พระราชวังพระเจ้าพิมพิสาร
พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบข่าวนี้ ก็ได้เสด็จไปเฝ้า พร้อมด้วยข้าราชบริพารและประชาชนจำนวนมาก
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดให้ได้บรรลุธรรมโปรดและมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
พระเจ้าพิมพิสารทรง มีพระราชศรัทธาถวายพระเวฬุวัน (สวนไผ่) เพื่อเป็นวิหาร (วัด)
แก่พระสงฆ์ มีพระพุทธองค์เป็นประมุข ซึ่งนับ เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระอรหันต์จำนวน
๑,๐๐๐ องค์นั้น ได้ประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหารต่อมาถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ
เดือนมาฆะ (เดือน ๓) เวลานั้น ปริพาชกมีชื่อ ๒ คน คืออุปติสสะ และ โกลิตะ
เป็นสหายกัน ได้พาบริวาร (รวมทั้งตัวเองด้วย) จำนวน ๒๕๐ คน
เข้าไปเผ้าพระพุทธองค์ที่พระเวฬุวันวิหาร
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดประทานเอหิภิกขุสัมปทาถ้วนทุกคน
ปริพาชกที่เป็นบริวารได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั่วทุกคน
ส่วนอุปติสสะและโกลิตะผู้เป็นหัวหน้ายังมิได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันนั้น
ครั้นต่อมาอีก ๗ วัน พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดท่านโกลิตะ ให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ครั้นต่อมาถึงวันเพ็ญเดือนมาฆะ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓) พระ
พุทธองค์ทรงแสดงธรรมแก่ทีฆนขะปริพาชกที่ถ้ำสูกรขตา (ถ้ำที่สุกรขุด) ข้างเขาคิชฌกูฎ
ท่านอุปติสสะนั่งถวาย งานพัดพระพุทธองค์อยู่ ได้ฟังพระธรรมเทศนานั้นแล้ว
ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ต่อมาพระพุทธองค์ทรงยกย่องพระอุปติสสะ
เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา ปรากฏพระนามว่า พระสารีบุตร อัครสาวก
ยกย่องพระโกลิตะเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายปรากฏนามว่าพระมหาโมคคัลลานะอัครสาวก
ทรงเปิดประชุมจาตุรงคสันนิบาตในตอนบ่ายแห่งวันเพ็ญเดือนมาฆะวันนั้นขณะที่พระพุทธองค์เสด็จกลับ
จากถ้ำสูกรขตาข้างเขาคิชฌกูฏมาถึงพระเวฬุวันวิหารพระสงฆ์อรหันต์สาวกจำนวน ๑,๒๕๐ องค์ ก็ได้มาชุมนุม
พร้อมกันเฉพาะพระพักตร์ต่างองค์ต่างมุ่งมาเฝ้าพระพุทธองค์ในเวลาเดียวกัน
ซึ่งการประชุมสงฆ์ครั้งนี้ประกอบ ด้วยองค์ ๔ จึงเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต คือ
(๑.) วันนั้นเป็นวันมาฆปุณณมี
วันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน มาฆะ
(๒.) พระอริยสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ องค์
มาประชุมกันโดยมิได้มีการนัดหมาย
(๓.) พระอริยสงฆ์ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
(๔.) พระอริยสงฆ์ทั้งนั้น ล้วนเป็นเอหิภิกขุคือ
ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธองค์เอง
พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าการประชุมประกอบด้วยองค์ ๔ ดังกล่าวนี้
เป็นโอกาศดียิ่งที่จะได้ทรงแสดงหลักการ สำคัญทางพระพุทธศาสนา
จึงทรงเปิดการประชุมและทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมนั้น ทรงโปรดพระพุทธบิดา พระนางพิมพาและราหุล
ต่อจากวันเพ็ญเดือนมาฆะนั้นมา พระพุทธองค์ได้ทรงส่ง พระอริยสาวกจำนวน ๑,๒๕๐ องค์นั้นออกไปประกาศพระพุทธศาสนา
กิตติศัพท์ได้เลื่องลือไปถึงกรุงกบิลพัสดุ์ ว่า พระพุทธองค์เมื่อได้ตรัสรู้แล้ว
ได้เสด็จจารึกโปรดเวไนยชนให้เลื่อมใสออกบวชเป็นพระสงฆ์ และเป็นอุบาสก อุบาสิกา
ได้สำเร็จมรรคผลเป็นจำนวนมาก ขณะนี้กำลังประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์
แคว้นมคธ พระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดาทรงทราบกิตติศัพท์นั้นแล้ว
จึงทรงส่งทูตมาทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้เสด็จ ไปกรุงกบิลพัสดุ์
แต่ส่งทูตมาอย่างนี้ถึง ๙ ครั้ง พระพุทธองค์ยังมิได้เสด็จ ต่อมาพอย่างเข้าปีที่ ๒
นับแต่ตรัสรู้ พระเจ้าสุทโธทนะ จึงทรงส่งทูตมาอาราธนาอีก
โดยทรงมอบให้กาฬุทายีอำมาตย์เป็นหัวหน้าคณะทูตที่มาคราว นี้ก็ได้บวชเป็นพระสงฆ์
และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งคณะ ครั้นย่างเข้าฤดูร้อนพระกาฬุทายีจึงทูลอาราธนา
พระพุทธองค์เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ตามคำอาราธนาของพระพุทธบิดา
พระพุทธองค์พร้อมพระอริยสงฆ์จำนวน ๒ หมื่นรูป
จึงได้เสด็จไปโดยมีพระกาฬุทายีเป็นผู้นำทางเสด็จดำเนินเป็นเวลา ๖๐
วันก็ถึงกรุงกบิลพัสดุ์ประทับอยู่ที่นิโครธรามใกล้ป่ามหาวัน ซึ่งพระญาติจัดไว้ถวาย
ฃึ่งได้ทรงแสดงเวสสันดรชาดกโปรดพระประยูรญาติให้เลื่อมใส
วันรุ่งขึ้นได้เสด็จออกบิณฑบาตโปรดประชาชนในกรุงกบิลพัสด์
ในการเสด็จเยือนกรุงกบิลพัสดุ์ครั้งนี้นอกจากได้
ทรงแสดงเวสสันดรชาดกโปรดพระประยูรญาติให้เลื่อมใสดังกล่าวแล้ว ยังทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา
ให้สำเร็จเป็นพระสกทาคามี โปรดพระนางปชาบดีโคตมี และพระนางพิมพาให้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน
และโปรดให้พระราหุลกุมารบรรพชาเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา โดยทรงมอบให้พระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์
อยู่จำเนียรกาลต่อมาพระราหุลได้อุปสมบทและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
เสด็จแคว้นโกศล
เมื่อประทับอยู่ที่กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเวลานานพอสมควรแล้ว
พระพุทธองค์ได้เสด็จจากกรุงกบิล พัสดุ์กลับไปยังกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ที่สีสปาวัน
(ป่าสีเสียดหรือป่ากะทุ่มเลือด)ครั้งนั้นเศรษฐีชาวเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ชื่อ
อนาถปิณทิกะ(เดิมชื่อสุทัตตะ) ได้ไปทำธุรกิจที่กรุงราชคฤห์ และเข้าเฝ้าพระพุทธองค์
ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์แล้วได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน
ได้ทูลอาราธนาพระพุทะองค์เสด็จไปกรุงสาวัตถี แล้วตนเองได้กลับไปเมืองสาวัตถีก่อน
เพื่อเตรียมการรับเสด็จพระพุทธองค์และได้สร้างพระเชตวันมหาวิหาร เตรียมถวาย
ต่อมา
พระพุทธองค์ได้เสด็จไปเมืองสาวัตถี ตามคำทูลอาราธนาของท่านเศรษฐีนั้น
เมื่อเสด็จถึงแล้ว
ท่านเศรษฐีก็ถวายการต้อนรับอย่างดีด้วยความเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง
และได้ถวายพระเชตวันมหาวิหารแด่พระสงฆ์ มี พระพุทธองค์เป็นประมุขพระพุทธองค์ทรงรับพระวิหารไว้ในพระพุทธศาสนา
ทรงอนุโมทนาแสดงธรรมกถาโปรดตามควรแก่อัธยาศัย
ระหว่างที่ประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหารนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรด
พระเจ้าปเสนทิโกศล ให้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
และทรงโปรดพระนางมัลลิกาอัครมเหสีให้ได้ดวงตาเห็นธรรม
ครั้งนั้น เหตุการณ์ภายในเมืองสาวัตถีกำลังปั่นป่วน
เพราะมีโจรใจเหี้ยมคนหนึ่งชื่อ "องคุลิมาล" ได้ออกอาละ
วาดฆ่าคนเป็นจำนวนมาก โดยตัดนิ้วมือของคนที่ถูกฆ่าคนละนิ้วคล้องเป็นพวงมาลัย ๙๙๙
นิ้ว ยังเหลือเพียงนิ้ว เดียวก็จะครบ ๑,๐๐๐
นิ้วตามต้องการเวลานั้นมารดาขององคุลิมาลคิดถึงลูกมากประสงค์จะไปเยี่ยมลูกพระพุทธองค์ทรงเห็นว่าหากองคุลิมาลได้พบมารดาก็จะฆ่ามารดาของตนเสียจะเป็นบาปหนักจึงเสด็จไปโปรดองคุลิมาลให้มีความเลื่อมใสให้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
พระประยูรญาติทรงผนวชตามเสด็จ
ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่อนุปิยอัมอัมพวันแห่งแคว้นมัลละ เวลานั้น
กษัตริย์ศากยราชผู้เป็นพระประยูรญาติ ๖ พระองค์ คือ พระภัททิยะ พระอนุรุทธะ
พระอานนท์ พระภัคคุ พระกิมพิละและพระเทวทัต ทรงเลื่อมใสในพระพุทธจริยา
ประสงค์จะผนวชตามเสด็จพระพุทธองค์จึงพร้อมกันชวนนายช่างกัลบกชื่อ อุบาลี พากันไปเฝ้าพระพุทธองค์
ณ ที่ประทับ ทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ก็ประทานอุปสมบทให้ตามประสงค์
โดยให้นายช่างกัลบกอุปสมบทก่อน กษัตริย์ศากยาราชทั้ง ๖ องค์ นั้นอุปสมบทใน ภายหลัง
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดตามควรแก่อัธยาศัย ต่อมาท่านเหล่านั้น นอกจากพระเทวทัต
และ พระอานนท์ ได้ปฏิบัติวิปัสสนาจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ส่วนพระอานนท์ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน พระเทวทัตนั้นได้บรรลุสมาบัติ
มีอิทธิฤทธิ์ตามวิสัยปุถุชน ทรงห้ามพระประยูรญาติวิวาทเรื่องน้ำ ครั้งหนึ่ง
พระประยูรญาติทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายกรุงกบิลพัสด์ และฝ่ายโกลิยนคร ได้วิวาทกันด้วยแย่งน้ำในแม่น้ำโรหิณีเพื่อระบายน้ำไปสู่พื้นที่ทำนาในเขตของตน
เริ่มด้วยพวกคนงานทะเลาะกัน และลามไปถึงกษัตริย์
ทั้งสองฝ่ายได้เตรียมอาวุธยกกำลังเข้าประจันหน้ากัน จวนจะเกิดศึกอยู่รอมร่อแล้ว
ครั้งนั้น ขณะพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่แคว้นสักกะ ทรงเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น
จึงเสด็จไปโปรดพระประยูรญาติทั้งสองฝ่ายให้ระงับการวิวาทบาดหมางกัน
โดยทรงชี้ให้เห็นว่าชีวิตกษัตริย์
ชีวิตคนนั้นแพงกว่าน้ำมากนักไม่ควรเห็นน้ำดีกว่าคน
พระญาติทั้งสองฝ่ายจึงเลิกวิวาทกันและมีความสามัคคีกันทรงโปรดช้างนาฬาคีรี
ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เช้าวันหนึ่งขณะ
ที่พระพุทธองค์เสด็จออกบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์
พระเทวทัตศิษย์ทรยศของพระพุทธองค์ได้ติดสินบนควาญช้างให้ปล่อยช้างนาฬาคีรีเพื่อทำร้ายพระพุทธองค์ตามแผนการ
แต่ด้วยเมตาจิตของพระพุทธองค์ ช้างตกมันก็ หายพยศ กลับคุกเข่าลงหมอบลงตรงพระพักตร์พระพุทธองค์
ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธบิดา ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน ใกล้ เมืองเวสาลี แค้วนวัชชี ทรงจำพรรษา ณ ที่นี้เป็นพรรษาที่ ๕
ครั้งนั้นพระพุทธองค์ทรงทราบว่าพระเจ้าสุโธทนะ ทรงประชวรหนักจึงเสด็จเยี่ยมพระพุทธบิดาที่กรุงกบิลพัสดุ์
พร้อมด้วยพระอริยสงฆ์พุทธสาวก
ครั้นเสด็จถึงแล้วได้ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดาให้ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
หลังจากนั้น ๗ วัน พระพุทธบิดาก็ สวรรคต
พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระสงฆ์และพระประยูรญาติจึงพร้อมกันจัดถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธบิดา
พระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกถูกประทุษร้าย
การที่พระพุทธองค์ได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลงมั่นคง ในมัธยมประเทศ
(ภาคกลางชมพูทวีป) และแพร่หลายไปในที่ต่างๆอย่างรวดเร็วนั้น
ก็ด้วยการร่วมกำลังกันเผย แพร่ของพุทธบริษัทที่สำคัญคือ พระสงฆ์ พุทธสาวก
และบรรดาพระสงฆ์สาวกนั้น ที่สำคัญที่สุดก็คือ พระอัครสาวกทั้ง ๒ คือ
พระสารีบุตรเถระ และพระมหาโมคคัลลานะเถระซึ่งเป็นกำลังสำคัญยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์
จึง
เป็นที่อิจฉาริษยาของมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะพระมหาโมคคัลลานะผู้มีฤทธิ์มากนั้นมีผู้ปองร้ายอยู่ ตลอดเวลา
ครั้งหนึ่งเมื่อท่านจำพรรษาอยู่ที่กาฬศิลา แคว้นมคธ
ก็ได้ถูกกลุ่มอาชญากรประทุษร้ายด้วยการว่าจ้างของกลุ่มมิจฉาทิฏฐิ
เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
แม้พระพุทธศาสนาจะได้เจริญแพร่หลายแล้ว จำนวนพุทธสาวกได้เพิ่มขึ้น
พุทธบริษัทมากมายจนนับไม่ถ้วน ถึงกระนั้น พระพุทธองค์ก็มิได้ทรงหยุดยั้งในการทรงบำเพ็ญพุทธกิจ
คงเสด็จจาริกไปแสดงธรรมโปรดประชาชนทั่วไปตลอดเวลา ๔๕ พรรษา
นับแต่พรรษาแรกที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี
จนพรรษาสุดท้ายที่หมู่บ้านเวฬุคาม แขวงเมืองเวสาลี ณ ที่นี้ และพรรษาสุดท้ายนี้
พระพุทธองค์ก็ทรงประชวรหนักแต่ทรงข่มเสีย ด้วยพระสติสัมปชัญญะ
ครั้นออกพรรษาแล้วล่วงวันเพ็ญเดือนมาฆะ พระพุทธองค์จึงทรงปลงพระชนมายุสังขาร คือ
ทรงกำหนดพระทัยเรื่องพระชนมายุว่าต่อแต่นี้ไปอีก ๓ เดือน พระองค์จักปรินิพพาน
ต่อแต่นั้นมา พระพุทธองค์ก็เสด็จจาริกโปรดเวไนยไปในที่ต่างๆ
จนเสด็จถึงเมืองปาวา เข้าประทับที่สวนมะ ม่วงของนายจุนทะ บุตรนายช่างทอง
ได้เสวยพระกายาหารมื้อสุดท้ายที่นายจุนทะถวาย ทรงแสดงธรรมโปรด
นายจุนทะให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แล้วทรงอำลานายจุนทะ เสด็จดำเนินต่อไป
ผ่านสถานที่ต่างๆไปโดยลำ ดับจนถึงป่าสาลวัน เขตเมืองกุสินารา
รับสั่งพระอานนท์ให้ปูลาดที่บรรทมระหว่างต้นสาละคู่หนึ่ง
ให้หันพระเศียรไปทางทิศอุดร แล้วประทับสำเร็จสีหไสยา คือ
การบรรทมตะแคงขวาเป็นอนุฏฐานไสยา คือ
การบรรทมโดยมิได้ทรงกำหนดว่าจะทรงลุกขึ้นเมื่อนั้น เมื่อนี้ ณ
ตอนบ่ายวันเสด็จถึงนั้นและในคืนวันนั้นสุภัททะปริพาชก ได้มาเฝ้าขออุปสมบทเป็นพระสาวกองค์สุดท้ายของพระพุทธองค์ต่อจากนั้นพระองค์ก็ได้ประทานพระโอวาท แก่ภิกษุสงฆ์ครั้นถึงยามสุดท้ายแห่งวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ครั้นรุ่งเช้า
เมื่อข่าวการเสด็จปรินิพพานของพระพุทธองค์ทราบถึงพวกมัลลกษัตริย์และชาวเมืองกุสินาราแล้ว
กษัตริย์
และประชาชนก็ได้พากันมานมัสการพระบรมพุทธสารีระแสดงความโศรกเศร้าอาลัยโดยทั่วหน้า
ครั้น ล่วงไป 7 วันแล้ว จึงเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ มกุฎพันธนเจดีย์ เพื่อถวายพระเพลิงเมื่อพระมหากัสสปเถระ
พร้อมด้วยบริวารมาถึง และที่ประชุมพร้อมแล้ว จึงได้พร้อมกันถวายพระเพลิงครั้น
ถวายพระเพลิงเสร็จแล้วพวกมัลลกษัตริย์เมืองกุสินาราก็ได้รวบรวมพระบรมสารีริกธาตุที่เหลืออัญเชิญไป
ประดิษฐานไว้ ณ สัณฐาคารศาลาภายในพระนครเพื่อเป็นที่สักการบูชาสืบไป
ต่อมามีกษัตริย์และพราหมณ์ตามเมืองต่างๆ ได้มาขอพระบรมธาตุ
กล่าวคือกษัตริย์เมืองราชคฤห์ เมืองเวสาลี เมืองกบิลพัสดุ์ เมืองอัลลกัปปะ
เมืองรามคาม พราหมณ์ เมืองเวฏฐทีปกะ
และเมืองปาวา มัลลกัษตริย์ก็แจกจ่ายถวายโดยทั่วกัน ส่วนโทณพราหมณ์ เมืองกุสินารา ผู้ทำหน้าที่แบ่งพระบรมธาตุ
ได้ทะนานตวงพระธาตุไว้เป็นสักการบูชา
พระไตรปิฏก
ความหมายของ พระไตรปิฏก
พระไตรปิฏก แปลว่า ๓ คัมภีร์ เมื่อแยกเป็นคำๆ
ว่า พระ + ไตร + ปิฏก คำว่า "พระ" เป็นคำแสดงความเคารพหรือยกย่อง คำว่า
"ไตร" แปลว่า สาม คำว่า "ปิฏก" แปลได้ ๒ อย่าง คือ แปลว่า
คัมภีร์ หรือแปลว่า กระจาด ตะกร้า
ดังนั้น พระไตรปิฏก จึงหมายถึง
สิ่งที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ไม่ไห้กระจัดกระจาย
คล้ายกระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะใส่ของนั้นเอง
ปิฏก ๓ หรือพระไตรปิฏก แบ่งออกเป็น
๑. พระวินัยปิฏก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ
ภิกษุณี
๒. พระสุตตันตปิฏก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วไป
มีประวัติและท้องเรื่องประกอบ เน้นความสำคัญในสมาธิ คือการพัฒนาด้านจิตใจ
๓. พระอภิธัมมปิฏก ว่าด้วยธรรมล้วนๆ
หรือธรรมสำคัญ ไม่มีประวัติและท้องเรื่องประกอบ
ความสำคัญของพระไตรปิฏก
ก่อนปรินิพพาน พระพุทธเจ้าได้ตรัสทำนองสั่งเสียกับพระอานนท์ว่า
เมื่อพระองค์ปรินิพพานล่วงลับไปแล้ว จะไม่ทรงตั้งภิกษุรูปใดแทนพระองค์
หากแต่ให้ชาวพุทธทั้งหลายยึดพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระองค์ ตามพระพุทธพจน์ว่า "โย
โว อานนฺท มยาธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา" แปลว่า
ดูก่อน อานนท์ ธรรมและวินัยใดที่เราได้แสดงแล้วและบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ธรรมและวินัยนั้น เป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลที่เราล่วงลับไป
พระพุทธพจน์นี้แสดงให้เห็นว่า พระธรรมวินัย ถือเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
จึงเท่ากับเป็นองค์พระศาสดาและเป็นตัวแทนพระพุทธศาสนา
และพระธรรมวินัยทั้งหลายนั้นล้วนได้ประมวลอยู่ใน พระไตรปิฏก ทั้งสิ้น
อาจกล่าวได้ว่า พระไตรปิฏก มีความสำคัญดังนี้ คือ
๑. เป็นที่รวบรวมไว้ซึ่งพระพุทธพจน์
คือคำสั่งของพระพุทธเจ้า
๒. เป็นที่สถิตของพระศาสดาของพุทธศาสนิกชน
เราสามารถเฝ้าพระพุทธเจ้า หรือรู้จักพระพุทธเจ้าได้จากพระไตรปิฏก
๓. เป็นแหล่งต้นเดิมหรือแม่บทในพระพุทธศาสนา
๔.
เป็นมาตรฐานตรวจสอบคำสอนและข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา คำสอนและข้อปฏิบัติใดๆ
ที่จะถือว่าเป็นคำสอนและข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนาได้ จะต้องสอดคล้องกับพระธรรมวินัยในพระไตรปิฏก
๕.
เป็นคัมภีร์ที่ถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ทางวิชาการ
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น