เศรษฐกิจของประเทศไทย
ประเทศไทยเมื่อราวร้อยปีที่แล้วเป็นระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง
ผลผลิตที่สำคัญที่สุดคือ ผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งนอกจากการกสิกรรมแล้ว
ยังรวมถึงผลผลิตจากป่าไม้ การเลี้ยงสัตว์และจับสัตว์น้ำด้วย
แต่เมื่อเศรษฐกิจเปลี่ยนเป็นแบบผลิตเพื่อขายหรือระบบทุนนิยมมากขึ้นตามลำดับ
โดยเฉพาะตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
มูลค่าผลผลิตอุตสาหกรรมมีสัดส่วนสูงเพิ่มขึ้นตามลำดับจนแซงหน้าเกษตรในปี พ.ศ.2524
ในปัจจุบันแม้ว่าการเกษตรจะเป็นอาชีพหลักของประชากรไทยในแง่ที่ว่าแรงงานร้อยละ
50 ยังคงทำงานภาคเกษตร แต่มูลค่าของผลผลิตจากการเกษตร
(รวมทั้งปศุสัตว์ ประมง ป่าไม้) ที่คิดอยู่ในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
มีเพียงราวร้อยละ 10 ของผลผลิตรวมเท่านั้น
โครงสร้างการผลิตของไทยในปัจจุบันเศรษฐกิจสาขาที่มีมูลค่าสูงสุด คือ
อุตสาหกรรม รองลงมาคือ การค้าส่งและค้าปลีก และบริการ (ที่รวมถึงการท่องเที่ยว
การให้บริการต่าง ๆ ) การขนส่งและการคมนาคม สาขาการธนาคาร
ประกันภัยและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
แต่การที่ประชากรไทยส่วนใหญ่ ยังอยู่ในภาคเกษตร ทำให้จริง ๆ
แล้วเศรษฐกิจภาคเกษตรของไทยยังมีความสำคัญสูงอยู่
ภาคเกษตรทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในกิจการค้า การแปรรูปอุตสาหกรรม และอื่น ๆ สูง
และเกษตรกรเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่
การที่โครงสร้างการผลิตของคนไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาคเกษตรที่ประสิทธิภาพการผลิตล้าหลังและมีรายได้ต่ำ
ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยเติบโตอย่าไม่สมดุลและถึงจุดหนึ่งก็เริ่มมีปัญหาเศรษฐกิจถดถอย
ปัญหาภาคการเกษตรล้าหลังและการกระจายรายได้ไม่เป็นธรรม
นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกภายใต้โครงสร้างเศรษฐกิจระบบตลาดแบบผูกขาด
ไม่มีการแข่งขันเสรีเป็นธรรมจริง ทำให้คนมีรายได้ปานกลางและสูงมีรายได้สูงเพิ่มขึ้นกว่าคนมีรายได้ต่ำหลายเท่า
เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนในอัตราที่สูงกว่าเดิม
สาเหตุของปัญหาการกระจายทรัพย์สินรายได้ที่ไม่ทั่วถึงนั้นเป็นผลมาจากนโยบายและโครงการพัฒนาของรัฐบาล
ซึ่งเน้นการเร่งรัดพัฒนาความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโดยส่วนรวม โดยมุ่งส่งเสริมการลงทุนต่างชาติ
การพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจภาคในเมืองเพื่อนายทุนขนาดใหญ่ขนาดกลาง
มากกว่าที่จะกระจายการพัฒนาสู่ภาคเกษตรหรือภาคชนบท
รวมทั้งรัฐไม่ได้พัฒนาเรื่องการศึกษาอบรมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
และการยกระดับประสิทธิภาพและค่าจ้างของคนงานอย่างจริงจัง
สาเหตุของปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม
ยังมีพื้นฐานมาจากระบบโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
ซึ่งมีลักษณะการกระจายการถือครองปัจจัยการผลิตและทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน ทุน
ที่มีความไม่เป็นธรรมสูง คนที่มีที่ดินมากเป็นร้อยเป็นพันไร่
หรือมีที่ดินในกรุงเทพฯ มูลค่าหลายพันล้านบาทซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม
ยิ่งนับวันก็ยิ่งได้ประโยชน์จากค่าเช่า และการที่ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นในอัตราสูงมาก
โดยเฉพาะค่าเช่าและราคาที่ดินในเมืองย่านการค้า อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ขณะที่คนส่วนใหญ่ซึ่งไม่มีที่ดินหรือมีที่ดินเพียงเล็กน้อย นอกจากจะไม่มีทางหารายได้จากทรัพย์สินตัวนี้แล้ว
ยังจะต้องเป็นเสียรายจ่ายในรูปของค่าเช่าหรือการซื้อที่อยู่อาศัยแบบผ่อนส่งด้วย
ในเรื่องทุนก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน
มีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นเจ้าของกิจการมีหุ้น
มีเงินฝากธนาคารและเงินทุนในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งสามารถให้ดอกผลในรูปกำไร เงินปันผล
ดอกเบี้ย ในอัตราทวีคูณ
ยิ่งคนมีทุนมากหรือมีอำนาจในเชิงผูกขาดหรือกึ่งผูกขาดก็ยิ่งได้ดอกผลมาก
และสามารถสะสมสืบทอดให้ลูกหลานสร้างความมั่งคั่งในอัตราสูง
ขณะที่คนส่วนใหญ่ซึ่งไม่มีทุน นอกจากจะไม่ได้ดอกผลเหล่านี้แล้ว ยังมักต้องเป็นลูกนี้เงินกู้
เป็นฝ่ายเสียดอกเบี้ย ทำให้ต้นทุนการทำงานและเลี้ยงชีพสูงขึ้น
โลกาภิวัฒน์
คำว่า “โลกาภิวัตน์” ฟังดูเหมือนกับว่าเศรษฐกิจทุกประเทศกำลังพัฒนาไปในแนวทางเดียวกัน
เป็นระบบเศรษฐกิจเดียวกันแต่จริง ๆ แล้วเป็นเศรษฐกิจที่ผูกขาดและบงการโดยแระเทศพัฒนาอุตสาหกรรมเพียงสิบกว่าประเทศ
ควบคุมการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ กิจการค้า การขนส่ง
การประกันภัยระหว่างประเทศ โดยผ่านบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งเรียกกันว่า
บริษัททุนข้ามชาติ (Transnational Corporation) บริษัทข้ามชาติแต่ละแห่งมีสาขาตามประเทศต่าง
ๆ ทั่วโลก
ประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมนี
ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย ฯลฯ
ยังเป็นประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ให้ทุนอุดหนุนภาคเกษตรของตนและใช้นโยบายกีดกันสินค้าเกษตรจากประเทศอื่น ๆ
เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อังกฤษ
ญี่ปุ่น
เป็นเศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับผลกำไรที่ได้จากการลงทุนและการค้ากับต่างประเทศมาก
ประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมสามารถขายสินค้าอุตสาหกรรม
หรือแม้แต่สินค้าเกษตรกรรมบางอย่างของตนได้ในราคาสูงกว่าที่ประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถขายวัตถุดิบและสินค้าเกษตรของตนได้
เพราะประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมมีอำนาจต่อรองในตลาดโลกสูงกว่า
ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ต้องขาดดุลการค้า คือ
ซื้อสินค้าเข้าเป็นมูลค่าสูงกว่าที่ส่งออกไปขายได้ และต้องเป็นหนี้สินต่างประเทศเพิ่มขึ้นตามลำดับ
ประเทศไทยเริ่มให้ความสนใจในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง
เมื่อมีการจัดตั้งสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ ในปี 2502
เนื่องจากรัฐบาลในสมัยนั้น
เล็งเห็นว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยผลิตได้นั้นไม่มีเสถียรภาพทางด้านราคา ไม่สามารถสู้กับสินค้าอุตสาหกรรมที่มาจากต่างประเทศได้
และเศรษฐกิจของประเทศก่อนหน้านี้ก็ขึ้นกับสินค้าเกษตรกรรมเพียงไม่กี่ชนิด จึงได้มีการวางแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกเมื่อปี
พ.ศ.2504 หลังจากนั้นเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี
มีการติดต่อค้าขายกับกลุ่มการค้าของประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก
รัฐบาลทุกชุดที่ผ่านมาดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่คล้ายกันคือการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจให้กลไกราคาเป็นเครื่องมือในการ
ตัดสินปัญหาเกี่ยวกับการผลิตและการบริโภค โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ส่งเสริมในเรื่องต่าง ๆ
ดังนี้
1.
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า โทรศัพท์ ชลประทาน เป็นต้น
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้เกิด แรงจูงใจในการผลิต และการบริโภค
2. จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งชาติทำหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนภายในประเทศ เพื่อทำ ให้เกิดการเคลื่อนย้ายทุนจากต่างประเทศเข้ามาสร้างฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดผลิตผลทางด้าน อุตสาหกรรมและการจ้างงานขึ้นในประเทศ
3. การส่งเสริมการท่องเที่ยว รัฐบาลได้จัดให้มีสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทำให้กิจกรรม ทางเศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจในภาคบริการ
4. การใช้มาตรการทางการค้าในลักษณะต่าง ๆ เช่น การเจรจาทางการค้ากับประเทศคู่ค้า การรวมกลุ่มทาง การค้ากับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน และการหาตลาดทางการค้า เป็นต้น มาตรการเหล่านี้ล้วนเป็นไป เพื่อให้เกิด ความมั่นใจสำหรับผู้ผลิตภายในประเทศ
5. ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นแหล่งระดมทุนสำหรับขยายปริมาณ และคุณภาพ ของการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม
2. จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งชาติทำหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนภายในประเทศ เพื่อทำ ให้เกิดการเคลื่อนย้ายทุนจากต่างประเทศเข้ามาสร้างฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดผลิตผลทางด้าน อุตสาหกรรมและการจ้างงานขึ้นในประเทศ
3. การส่งเสริมการท่องเที่ยว รัฐบาลได้จัดให้มีสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทำให้กิจกรรม ทางเศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจในภาคบริการ
4. การใช้มาตรการทางการค้าในลักษณะต่าง ๆ เช่น การเจรจาทางการค้ากับประเทศคู่ค้า การรวมกลุ่มทาง การค้ากับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน และการหาตลาดทางการค้า เป็นต้น มาตรการเหล่านี้ล้วนเป็นไป เพื่อให้เกิด ความมั่นใจสำหรับผู้ผลิตภายในประเทศ
5. ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นแหล่งระดมทุนสำหรับขยายปริมาณ และคุณภาพ ของการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม
ผลจากการสนับสนุนของรัฐบาลดังกล่าว ทำให้เศรษฐกิจของไทยเจริญเติบโตขึ้นถึงร้อยละ
12 รายได้เฉลี่ย 28,000
บาทต่อปีต่อคน ในปี 2536 แต่แม้ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นทุกปี
ประเทศไทยยังประสบปัญหาที่เป็นผลจากเศรษฐกิจ คือ
1. 1.การกระจายรายได้อันเป็นผลจากการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของทั้งภาครัฐและเอกชนไปกระจุกอยู่ในมือของ
คนกลุ่มหนึ่งในขณะที่ในปี 2534 คนจำนวนร้อยละ 29 มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน และเมื่อแบ่งประชาชนออกเป็น
2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รวย และกลุ่มที่จน กลุ่มที่รวยจะมีส่วนแบ่งของรายได้ไปถึง ร้อยละ 57.98 กลุ่มที่จนจะได้รับไปเพียงร้อยละ 4.5
2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รวย และกลุ่มที่จน กลุ่มที่รวยจะมีส่วนแบ่งของรายได้ไปถึง ร้อยละ 57.98 กลุ่มที่จนจะได้รับไปเพียงร้อยละ 4.5
2. 2. เด็กในบางภาคของประเทศยังคงเป็นเด็กที่ขาดสารอาหารถึงร้อยละ
27.5 ของเด็กทั้งหมดในภาค และมีเพียงร้อยละ 29 ที่ได้ต่อในระดับมัธยมศึกษา
3.3. การเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตทางการเกษตรมีการใช้สารพิษในการกำจัดศัตรูพืชเพื่อเร่งปริมาณผลผลิตทางการเกษตร
ทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อสภาพแวดล้อม
และการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว
เศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมของไทย
ชาวไทยส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่เดิมเป็นการเพาะปลูกเพื่อเลี้ยงชีพ
เหลือจึงจะนำออกขาย
แต่ภายหลังเมื่อได้รับการสนับสนุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานจากรัฐบาล ทำให้เกษตรกรเกิดแรงจูงใจในการผลิต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชเศรษฐกิจหลักที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยตลอดมามีอยู่ 5 ชนิด คือ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย
และยางพารา ปริมาณการผลิตขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ คือ
1. สภาพลมฟ้าอากาศ จากสถิติแสดงปริมาณการผลิตที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าในฤดูการผลิตใดที่มีฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
ผลผลิตจะน้อย ในขณะเดียวกันเมื่อฤดูกาลใดฝนฟ้าอุดมสมบูรณ์ผลผลิตจะมาก
ความไม่แน่นอนในปริมาณการผลิตในแต่ละฤดูกาล เป็นผลให้เกิดความไม่แน่นอนในการกำหนดปริมาณการผลิต
และการบริโภคในแต่ละปี
2. ความรู้ความสามารถของเกษตรกร
เกษตรกรที่มีความขยันขันแข็ง มีความตื่นตัวที่จะรับข่าวสารทางการเกษตร สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพของสังคม เลือกผลิตสินค้าทางการเกษตรที่เป็นที่ต้องการของตลาดด้วยวิธีการที่เหมาะสม จะทำให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น และเป็นประโยชน์ในเชิงเศรษฐศาสตร์มากกว่าเกษตรกรที่ใช้วิธีการผลิตแบบดั้งเดิม คืออาศัยสภาพลมฟ้าอากาศ และผลิตเพื่อยังชีพตามวิธีการที่สั่งสมมาจากบรรพบุรุษ
เกษตรกรที่มีความขยันขันแข็ง มีความตื่นตัวที่จะรับข่าวสารทางการเกษตร สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพของสังคม เลือกผลิตสินค้าทางการเกษตรที่เป็นที่ต้องการของตลาดด้วยวิธีการที่เหมาะสม จะทำให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น และเป็นประโยชน์ในเชิงเศรษฐศาสตร์มากกว่าเกษตรกรที่ใช้วิธีการผลิตแบบดั้งเดิม คืออาศัยสภาพลมฟ้าอากาศ และผลิตเพื่อยังชีพตามวิธีการที่สั่งสมมาจากบรรพบุรุษ
3. ตลาดรับซื้อสินค้าทางการเกษตรในระดับโลก เนื่องจากการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจของคนในโลกมีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด
ผลิตผลทางการเกษตรที่มีราคาสูงในระดับโลกจะสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรภายในประเทศผลิตสินค้าชนิดนั้นออกมาเป็นจำนวนมาก
เนื่องจากพ่อค้าภายในประเทศรับซื้อในราคาสูง
แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าราคาสินค้าทางการเกษตรชนิดใดมีราคาต่ำในตลาดโลก ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากนโยบายทางการค้าของประเทศคู่แข่ง
เช่น ให้การสนับสนุนทางด้านการเงินแก่เกษตรกรในประเทศของตน ให้สามารถลดราคาสินค้าทางการเกษตรของตนแข่งขันกับประเทศอื่นได้ในตลาดโลก
เป็นเหตุให้สินค้าชนิดนั้นมีราคาต่ำลง รัฐบาลไทยทุกรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจในภาคเกษตรกรรมตลอดมาเพราะมีความเกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ของประเทศ
โดยการให้การสนับสนุนเกษตรกรให้สามารถผลิตสินค้าทางการเกษตรได้ในปริมาณมาก ๆ
มีคุณภาพ สามารถขายได้ในราคาที่เหมาะสม
ให้ความร่วมมือทางการค้ากับประเทศคู่ค้าที่มีนโยบายกีดกันสินค้าทางการเกษตรที่ไปจากประเทศไทย
ทำให้สินค้าเกษตรของไทยได้รับความเชื่อถือในตลาดโลกมากขึ้น
เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมของไทย
ประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมมาเป็นเวลามากกว่า 3 ทศวรรษ
ทำให้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมของไทยขยายตัวมากขึ้น
ปัจจุบันประเทศไทยมีสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกหลายประเภท เช่น
ผลิตภัณฑ์จากสิ่งทอ น้ำตาล คอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนอัญมณี และเครื่องเพชรพลอย อาหารทะเลกระป๋อง
แผงวงจรไฟฟ้าและชิ้นส่วนรองเท้า และเครื่องหนัง ชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก
โทรทัศน์ วิทยุ พัดลม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการบริการ
การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมของไทยมีสาเหตุมาจากสิ่งต่อไปนี้ คือ
1. การสนับสนุนจากภาครัฐบาล รัฐบาลได้มีส่วนส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมของไทยขยายตัว
คือ
1. 1. จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(Board of Investment : BOI) ให้ทำหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนภายในประเทศโดยภาคเอกชน
ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การลดหรืองดอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร
หรือวัสดุที่นำเข้า การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับโครงการที่มีการลงทุน ในระยะแรกๆ
การให้การรับประกันว่ารัฐบาลจะไม่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันที่ได้รับการส่งเสริมการขึ้นอากรสินค้านำเข้าสำหรับสินค้าที่มาจากต่างประเทศ และการให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเพื่อประกอบอุตสาหกรรมได้
เป็นต้น
2. 2. การกำหนดเขตเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละเขตและส่งเสริมให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างเร่งด่วนในเขตเศรษฐกิจนั้น เช่น
โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้
โครงการนิคมอุตสาหกรรมสุรนารี เป็นต้น
3. 3. สนับสนุนภาคเอกชนโดยการบุกเบิกตลาดสินค้าอุตสาหกรรมและการเข้าร่วมกลุ่มทางการค้ากับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน เช่น
การตกลงร่วมกันระหว่างประเทศอาเซียนเพื่อยกเลิกหรือลดภาษีทางการค้าที่ค้าขายระหว่างกัน
ระหว่างประเทศสมาชิกให้เหลือร้อยละ 5 ภายในระยะเวลา 15
ปีข้อตกลงนี้กระทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก อาเซียน 10 ประเทศ อันได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ บรูไน อินโดนีเซีย เวียตนาม
ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์(Asean Free Trade Agreement : AFTA) ซึ่งจะส่งผลให้การค้าและการลงทุนของไทยขยายตัวมากขึ้นนอกจากนี้ประเทศไทยยัง
เป็นประเทศ สมาชิกองค์กรทางการระหว่างประเทศ
เช่นเป็นสมาชิกในองค์การที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงทางการค้า ระหว่างประเทศ (General
Agreement on Tariff and Trade: GATT) ทำให้ประเทศไทยได้รับความเชื่อถือ
ในทางการค้าระหว่างประเทศว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีนโยบายทงการค้าแบบเสรี
4. 4. การดำเนินมาตรการทางการเงินอย่างเหมาะสมโดยการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
และการลดค่าเงินบาททำให้ราคาสินค้าจากประเทศไทยมีราคาถูกสามารถสู้กับคู่แข่งที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันในตลาดโลกได้
2. สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกอันเป็นผลมาจากการติดต่อสื่อสารที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสาร
ถึงกันได้อย่างรวดเร็ว
1. ประกอบด้วยการที่ประเทศไทยมีแรงงานราคาถูกกว่าประเทศอุตสาหกรรมที่เจริญแล้ว
เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
ในขณะเดียวกันประเทศที่อยู่ในระดับเดียวกับไทยหลายประเทศก็มีค่าแรงงานสูงกว่าไทย ทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนในการผลิตมีการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเข้ามาในประเทศไทย
โดยบริษัทการค้าระหว่างประเทศ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการประกอบรถยนต
์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับวัสดุการก่อสร้าง เป็นต้น การลงทุนจากบริษัททางการค้าระหว่างประเทศจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี
ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนของบริษัทที่มาจากประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง
สหรัฐอเมริกา
3. ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศไทยมีส่วนทำให้ภาคอุตสาหกรรมขยายตัว
1. ประเทศไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมยอมรับในการตัดสินใจของผู้มีอำนาจในการปกครองโดยไม่มีการโต้แย้ง
ความเชื่อในผลกรรมซึ่งเป็นหลักการทางศาสนาทำให้การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็ว
การเรียกร้องทางด้านแรงงานเพื่อผลตอบแทนต่าง ๆ
มีน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วในขณะเดียวกันแรงงานไทยที่เป็นแรงงานที่มาจากภาคเกษตรกรรมมีความอดทนขยัน
และซื่อสัตย์ทำให้ผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมของไทยขยายตัว
สามารถผลิตสินค้าอุตสาหกรรมได้หลายชนิดในปริมาณที่เพิ่มขึ้น จะเห็นได้จากดัชนีผลผลิตสินค้าทางอุตสาหกรรมของไทยเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.4 ในปี 2535 และในช่วงเดียวกันของปี
2536 ดัชนีผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ
9.3 แสดงให้เห็นว่าผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีแต่มีข้อควรพิจารณาอยู่หลายประการ
เช่น
ประการที่ 1
ประเทศไทยยังขาดอุตสาหกรรมหนัก ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐาน
เช่น อุตสาหกรรมเหล็กเคมีภัณฑ์และเครื่องจักรกล ทำให้ต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศถึงร้อยละ
30 ของสินค้าประเภททุนซึ่งส่งผลให้ขาดดุลการค้าระหว่างประเทศตลอดมา
ประการที่ 2
โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังคงกระจุกตัวอยู่เฉพาะบริเวณกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงทำให้
แรงงานต้องเคลื่อนย้ายเข้าสู่ส่วนกลางทำให้เกิดชุมชนแออัด
และก่อปัญหาสังคมในรูปแบบต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาโสเภณี
ปัญหายาเสพติด เป็นต้น ประกอบกับโรงงานอุตสาหกรรมเองจะสร้างปัญหามลภาวะในลักษณะต่าง
ๆ กัน
ประการที่ 3
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทยประสบกับปัญหาการกีดกันทางการค้าจากประเทศที่เป็นมหาอำนาจทาง
เศรษฐกิจในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
การให้การสนับสนุนผู้ผลิตสินค้าในประเทศของตนในรูปของการช่วย เหลือทาง การเงิน
และการตั้งกำแพงภาษี สำหรับสินค้าเข้า เป็นต้น
ประการที่ 4
การเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตจากการผลิตเพื่อการยังชีพมาเป็นการผลิตเพื่อการค้าส่งผลให้การดำเนินชีวิต
ของคนในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปทั้งในเมือง และในชนบทมีการแข่งขันกันเพื่อครอบครอง ปัจจัย
การผลิตมากขึ้นในขณะที่ความร่วมมือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งเป็นค่านิยมดั้งเดิมของคนไทยเริ่มขาดหายไป
ประการที่ 5
รายได้ส่วนมากจะกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการที่มีเครือข่ายการธุรกิจของตระกูลต่าง
ๆ อยู่เพียงไม่กี่กลุ่ม ในขณะที่คนส่วนมากยังยากจน ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม
เศรษฐกิจภูมิภาคของไทย
ประเทศไทยมีเนื้อที่ประมาณ 541,108 ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น
76 จังหวัด มีประชากรทั้งสิ้น 58,336,072 คน แบ่งเป็น ชาย 29,205,086 คน หญิง 29,130,086
คน ลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วย ที่ราบ ภูเขา และที่ราบสูง
แบ่งตามลักษณะภูมิประเทศออกเป็น 6 เขต คือ
1. เขตภูเขาและที่ราบสูงตอนเหนือ มีลักษณะเป็นภูเขาและหุบเขา สลับกันเป็นแนวยาวจากเหนือมาใต้ ระหว่างภูเขามีที่ราบรอบบริเวณภูเขา
เช่น ที่ราบรอบเมืองเชียงใหม่ ลำพูน ต่อเนื่องกับที่ราบลำปาง แพร่ และน่าน
ที่ราบเหล่านี้มีแม่น้ำสำคัญ ๆ ไหลผ่าน เช่น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน
ลักษณะภูมิอากาศจัดว่าเป็นบริเวณที่มีฝนตกชุกพอสมควร คือประมาณ 1,200 มิลลิเมตรต่อปี
2. เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง
มีขอบเขตที่ราบสูงเป็นภูเขาเพชรบูรณ์ และภูเขาดงพญาเย็นทางตะวันตก ภูเขาสันกำแพง
ภูเขาพนมดงรักทางด้านใต้ บริเวณที่เป็นลุ่มแม่น้ำ มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านบริเวณนี้คือ
แม่น้ำมูลและแม่น้ำชี ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติ
ทางด้านทิศใต้ของภาค ลักษณะภูมิอากาศมีปริมาณน้ำฝนใกล้เคียงกับภาคอื่น ๆ
แต่เนื่องจากลักษณะของดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ
จึงทำให้มีความแห้งแล้งเป็นส่วนใหญ่
3. เขตที่ราบตอนกลาง ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นดินตะกอน
มีภูเขาล้อมรอบ มีอาณาบริเวณตั้งแต่จังหวัดอุตรดิตถ์ลงไปจนถึงอ่าวไทย เป็นที่ราบดินตะกอนที่เกิดจากแม่น้ำพัดพามาทับถมกัน
จึงมีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด แม่น้ำที่พัดพากรวด หิน ดินทราย มาทับถมกัน
คือแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน จากทางภาคเหนือ
และแม่น้ำจากทิศตะวันตก และทิศตะวันออก เช่น แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำป่าสัก
และแม่น้ำบางปะกง เป็นต้น ลักษณะภูมิอากาศ ตอนบนจะแห้งแล้ง
ปริมาณน้ำฝนน้อยเพราะล้อมรอบด้วยทิวเขา มีเพียงด้านใต้ที่เปิดโล่งรับลมทะเลทำให้มีฝนตกชุก
4. เขตที่สูงภาคตะวันตก
ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาและหุบเขาที่มีอายุยาวนานทอดยาว และต่อเนื่องจากภูเขาทางภาคเหนือ
มีที่ราบระหว่างหุบเขาแต่ไม่กว้างเหมือนทางภาคเหนือ เนื้อดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างมาก
มีแม่น้ำสายสั้นจากเทือกเขาหลายสายไหลแรงและมีปริมาณมากในฤดูฝน เช่น แม่น้ำแควน้อย
แม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำราชบุรี แม่น้ำปราณบุรี และแม่น้ำเมย เป็นต้น
เนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขาทั้งหมด จึงมีอุณหภูมิหนาวเย็นในตอนเช้าและตอนค่ำ ส่วนตอนกลางวันจะร้อนจัด
ขณะเดียวกันมีฝนตกชุกบริเวณทิวเขาด้านพม่าที่รับลมมรสุม ส่วนทิวเขาด้านหลังบางจุดฝนจะแล้ง
มีปริมาณน้ำฝนต่ำ
5. เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาทางตอนเหนือในจังหวัดปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา
และทางตะวันออกในจังหวัดจันทบุรีที่ติดกับพรมแดนกัมพูชา
เทือกเขาเหล่านี้เป็นที่เกิดของแม่น้ำสำคัญ ๆ เช่น แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำระยอง
แม่น้ำประแส ซึ่งไหลลงสู่ที่ราบในจังหวัดชลบุรี ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี
และฉะเชิงเทรา ที่ราบเหล่านี้บางแห่งเป็นที่ราบดินปนทราย ได้รับฝนมากเพราะอิทธิพลของลมทะเล
เหมาะสำหรับการทำสวนผลไม้ นอกจากนี้ยังเป็นที่ราบที่มีความชื้นน้อย เหมาะสำหรับการปลูกพืชไร่
6. เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งคาบสมุทรภาคใต้ ลักษณะภูมิประเทศของภาคนี้เป็นภูเขาและที่ราบขนาดแคบ ๆ
โดยภูมิภาคตอนบนมีภูเขาอยู่ทางด้านตะวันตกติดกับประเทศพม่า มีที่ราบชายฝั่งทะเล
ที่ราบที่สำคัญได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำตาปี ในเขตจังหวัดยะลาและปัตตานี ภูมิอากาศในภาคนี้มีฝนตกชุกกว่าภาคอื่น
ที่มา
: http://www.gotoknow.org/posts/37381
http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/soc3/so31-3-2.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น